Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาอิทธิพลจากแรงจูงใจเอื้อสังคมในการทำงาน และบุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (2) ศึกษาและเปรียบเทียบอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือพนักงานระดับปฏิบัติงานขึ้นไปในองค์การเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 406 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ มาตรวัดพฤติกรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ มาตรวัดแรงจูงใจเอื้อสังคมในการทำงาน และมาตรวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยมีอิทธิพลจากแรงจูงใจเอื้อสังคมในการทำงาน และบุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรทั้งสองสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้ 86.1% 2. แรงจูงใจเอื้อสังคมในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .46, p < .01) 3. บุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบมีอิทธิพลทางตรง่อพฤติกรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .53, p < .01) 4. บุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อแรงจูงใจเอื้อสังคมในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (β = .35, p < .01)