DSpace Repository

การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวางแผนและจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor จรัส สุวรรณมาลา
dc.contributor.advisor วีระศักดิ์ เครือเทพ
dc.contributor.author สมคิด เพชรประเสริฐ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-07-02T09:31:37Z
dc.date.available 2020-07-02T09:31:37Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741419511
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66801
dc.description วิทยานิพนธ์ (รป.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวางแผนและจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบและระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการมีส่วนร่วม ตลอดจนผลสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี 2544-2547 ผู้วิจัยได้คัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อเป็นกรณีศึกษารวมจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ อบต.บางพระ จังหวัดฉะเชิงเทรา อบต.ห้วยกะปิ จังหวัดชลบุรี เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อบจ.ปราจีนบุรี และ อบจ.แพร่ และได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสำรวจข้อมูลจากเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 ถึงเดือนพฤษภาคม 2548 ผลจากการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบการมีส่วนร่วมมี 5 รูปแบบ เรียงจากระดับพื้นฐานถึงสูงสุด ได้แก่ การจัดทำเอกสารชี้แจงงบประมาณท้องถิ่น การสำรวจความคิดเห็น/ความต้องการของประชาชน การจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน การจัดทำประชาคม และการประชุมสภาเมือง 2) ระดับการมีส่วนร่วมมี 5 ระดับ เรียงจากระดับพื้นฐานถึงสูงสุด ได้แก่ การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน การสำรวจความคิดเห็นจากประชาชน การทำงานร่วมกับองค์กรภาคประชาชน/การสำรวจความต้องการจากประชาชน การปรึกษาหารือประชาชน และการเปิดโอกาส/ให้ประชาชนเลือกทางเลือกเชิงนโยบาย รูปแบบและระดับการมีส่วนร่วมมีความเชื่อมโยงกันทั้งใน 2 ลักษณะ คือ แต่ละรูปแบบมีหลายระดับ และแต่ละระดับมีหลายรูปแบบ รูปแบบการมีส่วนร่วมที่พบในกรณีศึกษามากที่สุดและมีความเข้มข้นมากที่สุด คือ รูปแบบการจัดทำประชาคม และ อบต.ห้วยกะปิ เลือกใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมหลากหลายที่สุด รูปแบบการมีส่วนร่วมมีลักษณะเฉพาะในบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ขณะที่ระดับการมีส่วนร่วมมีความเป็นสากล 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนมากที่สุดคือประเด็นปัญหา/วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมฯ ส่วนปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่นำมาวิเคราะห์ในการศึกษานี้ไม่มีผลอย่างสำคัญต่อการเลือกใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจนแต่อย่างใด และ 4) ผลสำเร็จของการส่วนร่วมมีผลอย่างชัดเจนต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงาน ต่อคุณภาพการจัดบริการสาธารณะของกรณีศึกษาตลอดจนต่อความร่วมมือในการจ่ายภาษีประชาชน
dc.description.abstractalternative This study is aimed at investigating patterns, levels, factors and outcomes of people participation in the local authorities of Thailand during 2001-2004. Six local authorities had been selected as studied cases, including successful cases in people participation--Bangpra TAO, Huay Kapi TAO, Khon Kaen Municipality, Tha Kham Munucipality Prachinburi PAO,and Phrae PAO. Information regarding the people participation process of those who directly involved in the six studied cases had been collected by in-dept interviews and documentary surveys during March 2003 and May 2004. The research findings are following 1) There are at least five patterns of people participation in local planning and budgeting process. Ranked by passive to active, including citizen budget guide, citizen surveys, civic commissions, civic forums/focus group, and town hall meeting. 2) There are at least five levels of participatory intensity from low to high, including inform people, citizen survey, networking and collaboration with community organizations, citizen consultation, and citizen direct involvement in budget allocation. The patterns and levels are linkage with each other: each pattern consists of many levels, and each level consists of many patterns. Among five patterns, civic forum/focus group is the most widely applied, and is the highest intensive participation. Huay Kapi TAO applies almost all patterns found in this study. 3) Pattern selection is affected by the problem issued and purpose of people participation activities, while other factors are insignificant. 4) People participation had obviously impacts on people satisfaction, contribute to the improvement of local public service quality, and civic sensibility of local taxation.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การคลังท้องถิ่น -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.subject การปกครองท้องถิ่น -- ไทย
dc.subject Local finance -- Citizen participation
dc.subject Local government -- Thailand
dc.title การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวางแผนและจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
dc.title.alternative People Participation in Planning and Budgeting Process of Local Authorities in Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record