Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์กรณีศึกษา: จังหวัดสุรินทร์ชัยภูมิและนครราชสีมามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาลักษณะทั่วไปในการผลิตผ้าไหม 2. ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหม 3. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสามแห่งโดยใช้ Diamond Model และแบบจำลอง CIPP ในการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมทั้งสามแห่ง ผลการศึกษาความสามารถในการแข่งขันโดยใช้ Diamond Model พบว่ากลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดนครราชสีมามีความสามารถในการแข่งขันมากที่สุดรองลงมาคือจังหวัดชัยภูมิและนคราชสีมาตามลำดับและผลการวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลอง CIPP พบว่าการดำเนินยุทธศาสตร์ OTOP จังหวัดและการดำเนินงานของกลุ่มสอดคล้องเป็นอย่างดีกับกรอบวัตถุประสงค์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าพบว่าโดยภาพรวมกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมทั้งสามแห่งมีปัจจัยนำเข้าที่มีความเพียงพอและเหมาะสมในการทำงานเป็นอย่างดีสำหรับผลการประเมินกระบวนการพบว่าโครงสร้างองค์กรการตลาดและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยภาพรวมมีความคล้ายคลึงกันแต่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในด้านการผลิตแต่มีความเหมาะสมกับลักษณะผลิตภัณฑ์และการทำงานของแต่ละแห้งผลการประเมินผลผลิตพบว่ากลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมทั้งสามแห่งมีผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวแตกต่างกันและเป็นที่ยอมรับของตลาดสมาชิกกลุ่มมีรายได้จากการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้าเปรียบเทียบกับรายได้ทั้งหมดเป็นสัดส่วนมากกว่ากึ่งหนึ่งและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นพบว่าจังหวัดสุรินทร์สามารถแสดงให้เห็นถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ค่อนข้างชัดเจน การประเมินผลสัมฤทธิ์พบว่ากลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดชัยภูมิและนครราชสีมามีผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้นในระดับที่ใกล้เคียงกันเมื่อพิจารณาจากผลผลิตผลกระทบและอรรถประโยชน์ขณะที่จังหวัดสุรินทร์เกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับที่ต่ำกว่าเนื่องจากยังขาดการเชื่อมโยงทั้งในแนวตั้งและแนวนอน