DSpace Repository

การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : จังหวัดสุรินทร์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชลัยพร อมรวัฒนา
dc.contributor.author นลินี สุระมุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial สุรินทร์, ชัยภูมิ, นครราชสีมา
dc.date.accessioned 2020-07-03T02:46:11Z
dc.date.available 2020-07-03T02:46:11Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741429096
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66815
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์กรณีศึกษา: จังหวัดสุรินทร์ชัยภูมิและนครราชสีมามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาลักษณะทั่วไปในการผลิตผ้าไหม 2. ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหม 3. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสามแห่งโดยใช้ Diamond Model และแบบจำลอง CIPP ในการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมทั้งสามแห่ง ผลการศึกษาความสามารถในการแข่งขันโดยใช้ Diamond Model พบว่ากลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดนครราชสีมามีความสามารถในการแข่งขันมากที่สุดรองลงมาคือจังหวัดชัยภูมิและนคราชสีมาตามลำดับและผลการวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลอง CIPP พบว่าการดำเนินยุทธศาสตร์ OTOP จังหวัดและการดำเนินงานของกลุ่มสอดคล้องเป็นอย่างดีกับกรอบวัตถุประสงค์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าพบว่าโดยภาพรวมกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมทั้งสามแห่งมีปัจจัยนำเข้าที่มีความเพียงพอและเหมาะสมในการทำงานเป็นอย่างดีสำหรับผลการประเมินกระบวนการพบว่าโครงสร้างองค์กรการตลาดและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยภาพรวมมีความคล้ายคลึงกันแต่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในด้านการผลิตแต่มีความเหมาะสมกับลักษณะผลิตภัณฑ์และการทำงานของแต่ละแห้งผลการประเมินผลผลิตพบว่ากลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมทั้งสามแห่งมีผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวแตกต่างกันและเป็นที่ยอมรับของตลาดสมาชิกกลุ่มมีรายได้จากการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้าเปรียบเทียบกับรายได้ทั้งหมดเป็นสัดส่วนมากกว่ากึ่งหนึ่งและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นพบว่าจังหวัดสุรินทร์สามารถแสดงให้เห็นถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ค่อนข้างชัดเจน การประเมินผลสัมฤทธิ์พบว่ากลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดชัยภูมิและนครราชสีมามีผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้นในระดับที่ใกล้เคียงกันเมื่อพิจารณาจากผลผลิตผลกระทบและอรรถประโยชน์ขณะที่จังหวัดสุรินทร์เกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับที่ต่ำกว่าเนื่องจากยังขาดการเชื่อมโยงทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
dc.description.abstractalternative This research concentrates on the evaluation of silk producer groups under one tambon one product project : a case study of Surin, Chaiyaphum, and Nakhonratchasima. The objectives are 1. to study the general characteristics of silk production 2. to evaluate the effectiveness of the silk producer groups 3. to study the problems and obstacles that the three silk produce groups under one tambon one product project have to face. This is accomplished by utilizing the Diamond Model and the CIPP Model. The results obtained can then be analyzed further in order to evaluate the effectiveness of the three silk producer groups. In the study of the ability to compete among the silk producers by using the Diamond Model. It has been found that the silk producers from Nakhonratchasima were the most competent while those from Chaiyaphum and Surin were less capable, respectively. In the analysis by utilizing the CIPP Model it was revealed that the silk producers' operations and administrations were properly aligned with the objectives of the one tambon one product project In the analysis of the import factor, it has been revealed that it was at an adequate and appropriate level for all three silk producer groups. In the evaluation of the processes. the three groups had similar structures in terms of their corporate organization, marketing, and the way they preserved the indigenous knowledge. However, a major difference among the silk producers arose in their production methods. Nevertheless the methods selected were appropriate for the products being produced by each group. In the production assessment, it was found that the products of all three silk producer groups were unique and well accepted by the market. More than half of the income of the group members was from producing silk. As for the preservation of the folk wisdom, Surin was the clearest in demonstrating this. In the overall analysis of the effectiveness, silk producer groups from Chaiyaphum and Nakhonratchasima were similarly effective when production, effects, and utilities were taken into consideration. On the other hand, Surin was less effective due to the lack of connection in both vertical and horizontal directions.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ en_US
dc.subject อุตสาหกรรมผ้าไหม -- ไทย -- สุรินทร์ en_US
dc.subject อุตสาหกรรมผ้าไหม -- ไทย -- ชัยภูมิ
dc.subject อุตสาหกรรมผ้าไหม -- ไทย -- นครราชสีมา
dc.subject Silk industry -- Thailand -- Surin
dc.subject Silk industry -- Thailand -- Chaiyaphum
dc.subject Silk industry -- Thailand -- Nakhonratchasima
dc.title การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : จังหวัดสุรินทร์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา en_US
dc.title.alternative The Evaluation of Silk Producer Groups Under One Tambon One Product Project a case study of Surin Chaiyaphum and Nakhonratchasima en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Chalaiporn.A@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record