dc.description.abstract |
กองทัพบก เป็นหน่วยงานราชการทางทหารที่มีพื้นที่ในความรับผิดชอบทั่วประเทศไทย โดยในพื้นที่ดังกล่าวมีสิ่งก่อสร้าง และสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกองทัพบกให้กรมยุทธโยธาทหารบก (หน่วยงานออกแบบและก่อสร้าง) ดูแลงบประมาณและจัดสรรงานก่อสร้างดังกล่าว อีกทั้งเป็นหน่วยงานกลางที่มีภารกิจหน้าที่รับผิดชอบทั้งวงจรของงานสถาปัตยกรรม โดยปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานมีหลายประการ เช่น เกิดความล่าช้าไม่ทันต่อความต้องการและปีงบประมาณ, ปริมาณงานคั่งค้าง, งานเกิดข้อผิดพลาด, ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ รวมทั้งการปฏิบัติวิชาชีพในหน่วยงาน ซึ่งงานด้านการออกแบบจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการบริหารจัดการที่มีรูปแบบเฉพาะและเหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหา รวมถึงการวางแนวทางการพัฒนาและเพื่อทำให้หน่วยงานดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับนโยบายของกองทัพบกได้อย่างเต็มความสามารถ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบาย กฎระเบียบ โครงสร้างองค์กร และวิธีการดำเนินงานของกรมยุทธโยธาทหารบก โดยเฉพาะกองแบบแผน เพื่อทราบถึงการบริหารจัดการด้านการออกแบบ, ขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อเท็จจริงและเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการดำเนินงาน การบริหารจัดการของกองแบบแผน กรมยุทธโยธาทหารบกต่อไป วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 แหล่งข้อมูล คือการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการและปัญหาของกองแบบแผน กรมยุทธโยธาทหารบก โดยการแจกแบบสอบถามกำลังพลภายในกองแบบแผน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1) นายทหารชั้นสัญญาบัตร 2) นายทหารชั้นประทวน 3) พนักงานราชการและอื่น ๆ และการศึกษาหน่วยงานออกแบบและก่อสร้างทางทหารภายในกระทรวงกลาโหม โดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้อำนวยการกองที่รับผิดชอบด้านงานออกแบบของ 5 หน่วยงาน คือ 1) สำนักโยธาธิการกลาโหม: สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 2) สำนักงานยุทธโยธาทหาร กรมยุทธบริการทหาร: กองบัญชาการทหารสูงสุด 3) กรมยุทธโยธาทหารบก: กองทัพบก 4) กรมช่างโยธาทหารเรือ: กองทัพเรือ 5) กรมช่างโยธาทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ: กองทัพอากาศ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการ โดยศึกษาทั้งปัจจัยภายใน ได้แก่ นโยบายและการวางแผน โครงสร้างองค์กร บุคลากร ระบบการทำงาน และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การปฏิบัติวิชาชีพ กฎระเบียบ บุคลากรภายนอกกองแบบแผน และนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเชิงบรรยาย ผลการวิจัยจากปัจจัยภายในกองแบบแผนพบว่าไม่มีการวางนโยบายและแผนการทำงาน, การจัดโครงสร้างองค์กร โดยเฉพาะแผนกสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมไม่สามารถตอบสนองต่อการปฏิบัติงาน, ขาดแคลนบุคลากรบางสาขาวิชารวมถึงขวัญและกำลังใจในการทำงาน, ระบบการทำงานไม่เหมาะสมและไม่มีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน, ขาดวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีในการทำงานด้านการออกแบบ และปัจจัยภายนอกพบปัญหาในการปฏิบัติวิชาชีพทั้งสถาปนิกและวิศวกรไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดชนิดและขนาดงานควบคุมในแต่ละสาขา, กฎระเบียบที่ออกมาส่วนใหญ่ไม่ส่งเสริมต่อการทำงาน รวมทั้งบุคลากรทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องไม่เข้าใจการทำงานด้านการออกแบบอย่างชัดเจน จึงสรุปได้ว่ากองแบบแผนจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาโดยการปรับโครงสร้างองค์กร บุคลากร และภารกิจหน้าที่ในบางแผนก รวมทั้งการสร้างมาตรฐานการทำงานด้านการออกแบบ และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการให้อยู่ในแนวทางที่เหมาะสมกับทั้งองค์กรด้านการออกแบบและองค์กรระบบราชการทหารที่จะต้องดำเนินงานไปด้วยกันภายในหน่วยงานนี้ ซึ่งขึ้นอยู่การทำงานของกำลังพลทุกระดับชั้น รวมถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่ควรมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ก้าวทันต่อการพัฒนาทางสายงานด้านนี้ รวมทั้งสามารถพัฒนาหน่วยงานให้เทียบเท่ากับหน่วยงานภายเอกชน ดังนั้นกรมยุทธโยธาทหารบก ควรให้ความสำคัญและสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านการบริหารจัดการงานด้านการออกแบบควบคู่ไปกับการดำเนินงานในด้านอื่น ๆ เพื่อให้หน่วยงานสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว มั่นคง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานออกแบบและก่อสร้างทางทหารภายในกระทรวงกลาโหมอื่น ๆ อีกด้วย |
|
dc.description.abstractalternative |
Royal Thai Army (RTA) is the military organization that has properties throughout Thailand. These properties include buildings and facilities, of which the fiscal construction budget is established by the Post Engineer Department. This Department is responsible for all phrases of architectural life cycle. Hitherto, its organization has many problems from the sluggish procedures that can not keep up within the fiscal year and requirements, including overloading of workflows, impractical design of works. In order to be effective and efficient, the Post Engineer Department needs to develop administrative programs that are appropriate for solving its problems, and in addition, that follow all RTA context, policy and regulation in particular. This research is to study policy, rules and regulations, organization structure of the Post Engineer department in order to obtain its current organization, operation procedures and problems, aiming for proposing administrative programs which embrace policy, planning method, and organization restructure. The emphasis is on the Planning and Design Division. The research methods are questionnaire survey and interview of the two sources. The questionnaire survey is conducted with three groups of officers within the Planning and Design Division; namely. 1) The Commissioned Officers 2) The Non-commissioned Officers and 3) The Permanent Employees. The interview is conducted with the counterpart Post Engineer Departments in Ministry of Defense, namely, 1) Civil Engineering Office of the Under- Secretary, Ministry of Defense 2) Civil Engineering Office of the Support Services Department, Supreme Command 3) The Post Engineer Department of the Royal Thai Army 4) Naval Public Work Department of the Royal Thai Navy and 5) Directorate of Civil Engineering of the Royal Thai Air force, respectively. These problems attribute to both internal and external factors. For the internal factors, they are policy and planning, organization formation, human resource, and operation procedures. For the external factors, they are architectural regulations, rules and regulations of the Army Department, and outside contractors. The information derived is comparatively analyzed. The outcomes of the research illustrate the problems of unplanned working policies and ineffective organization structures within architectural and engineering departments, also the short of specialists and working inspiration, under-standardized working procedures, as well as the lack of up-to-date design appliances. For the external source of problems, there are the counteraction of working specification among some architects and engineers, mismatched working regulations, including misunderstanding of architectural design context in general. To be concluded, these problematic issues should be resolved and the development of effective administration should be introduced for the organization in terms of architectural design and organization work flow. In addition, the CEO should also understand administration with vision in these architectural fields, in which this development should be comparable to other private organizations. For the Post Engineer Department organization to be developed progressively and efficiently, the Post Engineer Department should recognize the significance of developing the Design Division administration. Such development as well benefits other design and construction units within the Ministry of Defense. |
|