Abstract:
ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุนเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับการพัฒนาตลาดทุนโดยรวมและเป็นทางเลือกที่สำคัญของผู้ลงทุนในการลงทุนผ่านการมอบหมายให้ผู้ประกอบการธุรกิจจัดการ ลงทุนซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่เชี่ยวชาญช่วยติดตามดูแลการลงทุนให้ และโดยที่ลักษณะของกิจการดังกล่าว เป็นกิจการที่เกี่ยวกับเงินลงทุนของประชาชน ภาครัฐจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเข้าควบคุมการดำเนินกิจการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนผู้ลงทุน จากการวิเคราะห์ปัญหาการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจการจัดการลงทุนในประเทศไทย พบว่าการกำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุนตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มีปัญหาในเชิงโครงสร้างหลักเกณฑ์ในเรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลรูปแบบของกองทุนรวม หลักเกณฑ์การตรวจสอบและคานอำนาจของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และการแบ่งประเภทใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุนออกเป็นการจัดการกองทุนรวมและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งทำให้การกำกับดูแลขาดประสิทธิภาพและไม่เป็นรูปแบบที่เป็นสากล ผู้เขียนจึงได้ศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปรับปรุง โดยเปรียบเทียบหลักทรัพย์การกำกับดูแลของประเทศไทยกับ หลักเกณฑ์การ กำกับดูแลของฮ่องกง ประเทศออสเตรเลีย และประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา โดยให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญิติกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1.ให้มีการกำหนดนิยามความหมายของกองทุนรวมโดยพิจารณาจากสาระ (substance) ของกองทุน รวม เพื่อให้การกำกับดูแลครอบคลุมกองทุนรวมที่จัดตั้งในทุกรูปแบบ (form) โดยในการกำกับดูแลอาจพิจารณาความเหมาะสมในการให้อนุญาตเสนอขายส่วนได้เสียในกองทุนรวมเฉพาะรูปแบบที่กำหนดก็ได้ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนรวมจะจัดตั้งในรูปแบบใด การจะได้รับอนุญาตต้องเข้าเงื่อนไขเป็นไปตามข้อกำหนดที่มีสาระ ครอบคลุมในเรื่องสำคัญอย่างเดียวกัน 2.ให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องการตรวจสอบและคานอำนาจของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยแก้ ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อวางข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการบริษัทกองทุนรวมที่แตกต่างจากบริษัททั่วไป และกำหนดให้มีกฎหมายทรัสต์เพื่อนำมาใช้กับธุรกรรมการจัดการกองทุน 3.ให้มีการรวมใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและการกองทุน ส่วนบุคคล เป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุน และกำหนดรายละเอียดส่วนที่มี ความแตกต่างกันเป็นหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับลักษณะเฉพาะของกองทุนแต่ละประเภท