DSpace Repository

การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุน

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิชัยศักดิ์ หรยางกูร
dc.contributor.advisor รพี สุจริตกุล
dc.contributor.author วัชรพล สุนทระศานติก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-07-03T09:21:06Z
dc.date.available 2020-07-03T09:21:06Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741745613
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66878
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
dc.description.abstract ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุนเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับการพัฒนาตลาดทุนโดยรวมและเป็นทางเลือกที่สำคัญของผู้ลงทุนในการลงทุนผ่านการมอบหมายให้ผู้ประกอบการธุรกิจจัดการ ลงทุนซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่เชี่ยวชาญช่วยติดตามดูแลการลงทุนให้ และโดยที่ลักษณะของกิจการดังกล่าว เป็นกิจการที่เกี่ยวกับเงินลงทุนของประชาชน ภาครัฐจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเข้าควบคุมการดำเนินกิจการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนผู้ลงทุน จากการวิเคราะห์ปัญหาการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจการจัดการลงทุนในประเทศไทย พบว่าการกำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุนตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มีปัญหาในเชิงโครงสร้างหลักเกณฑ์ในเรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลรูปแบบของกองทุนรวม หลักเกณฑ์การตรวจสอบและคานอำนาจของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และการแบ่งประเภทใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุนออกเป็นการจัดการกองทุนรวมและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งทำให้การกำกับดูแลขาดประสิทธิภาพและไม่เป็นรูปแบบที่เป็นสากล ผู้เขียนจึงได้ศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปรับปรุง โดยเปรียบเทียบหลักทรัพย์การกำกับดูแลของประเทศไทยกับ หลักเกณฑ์การ กำกับดูแลของฮ่องกง ประเทศออสเตรเลีย และประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา โดยให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญิติกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1.ให้มีการกำหนดนิยามความหมายของกองทุนรวมโดยพิจารณาจากสาระ (substance) ของกองทุน รวม เพื่อให้การกำกับดูแลครอบคลุมกองทุนรวมที่จัดตั้งในทุกรูปแบบ (form) โดยในการกำกับดูแลอาจพิจารณาความเหมาะสมในการให้อนุญาตเสนอขายส่วนได้เสียในกองทุนรวมเฉพาะรูปแบบที่กำหนดก็ได้ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนรวมจะจัดตั้งในรูปแบบใด การจะได้รับอนุญาตต้องเข้าเงื่อนไขเป็นไปตามข้อกำหนดที่มีสาระ ครอบคลุมในเรื่องสำคัญอย่างเดียวกัน 2.ให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องการตรวจสอบและคานอำนาจของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยแก้ ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อวางข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการบริษัทกองทุนรวมที่แตกต่างจากบริษัททั่วไป และกำหนดให้มีกฎหมายทรัสต์เพื่อนำมาใช้กับธุรกรรมการจัดการกองทุน 3.ให้มีการรวมใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและการกองทุน ส่วนบุคคล เป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุน และกำหนดรายละเอียดส่วนที่มี ความแตกต่างกันเป็นหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับลักษณะเฉพาะของกองทุนแต่ละประเภท
dc.description.abstractalternative Securities business in investment management and collective investment scheme is one of the significant elements supporting development of capital market as the business provides investors with an investment alternative through which a professional investment manager is appointed to invest and monitor portfolio on behalf of the investors. Owing to the fact that nature of this business relates to mobilization of fund from the public and managing other’s people money, the governmental authority’s role and participation in administering regulations governing the said business are in need to protect the interest of investing public. Study on supervision of securities business in investment management and collective investment scheme under the Securities and Exchange Act B.E. 2535 reveals certain problems on regulatory infrastructures including characterization of mutual fund and its management, check and balance among participants, and investment management licensing regime. These problems cause the supervisory framework inefficient and not conform to international features. In conducting this research, the author studies and analyses issues of the said problems under Thai law in comparison with Hong Kong, Australian, and U.S. laws. The author also proposes enactment of and amendment to legislation as follows - 1. characterizing “mutual fund” on the basis of its substance rather than its form to allow the regulatory regime to outreach all forms of mutual funds whereas interests in mutual funds eligible to be offered may be restricted only to the funds established in specified forms. No matter what forms of mutual fund, however, criteria on approval associated with issues with the same nature must be similar. 2. reforming criteria on check and balance among participants by amending provisions of laws on investment company’s board of directors which is different from those of other corporations as well as introducing trust law to facilitate management of fund. 3. unifying licensing regimes of mutual fund and private fund managements to create a new regime of investment management under which detailed regulations accommodating unique characteristics of private and mutual funds can be put in place.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject บริษัทหลักทรัพย์
dc.subject การลงทุน
dc.subject การกำกับดูแลกิจการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subject กองทุนรวม
dc.subject Securities companies
dc.subject Investments
dc.subject Corporate governance -- Law and legislation
dc.subject Mutual funds
dc.title การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุน
dc.title.alternative Supervision of securities business in investment mangement
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Phijaisakdi.H@chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record