Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้ต้องการศึกษาว่าภายใต้พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ. ศ. 2547 ควรมีมาตรการควบคุมการแสวงหาพยานหลักฐานโดยการสืบสวนสอบสวนด้วยวิธีการแฝงตัวอย่างไรเพื่อจะได้เป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพรองประชาชน และคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่สืบสวนสอบสวนด้วยวิธีกาแฝงตัว จากการศึกษาพบว่าฯพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษพ. ศ. 2547 ให้อำนาจอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือผู้ได้รับมอบหมาย มีอำนาจอนุญาตให้บุคคลใด เข้าไปสืบสวนสอบสวนในคดีพิเศษด้วยวิธีการแฝงตัว เข้าไปในองค์กรหรือกลุ่มบุคคลใด เพื่อค้นหาและรวบรวมพยานหลักฐานตลอดจนมีอำนาจให้จัดทำเอกสาร หรือหลักฐานใดขึ้น เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนในคดีพิเศษโดยไม่มีองค์กรภายในหรือภายนอกตรวจสอบอำนาจของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษทำให้เกิดความไม่โปร่งใสในการใช้อำนาจรองอธิบดีซึ่งแตกต่างจากหลักการอนุญาตให้มีการสืบสวนสอบสวนด้วยวิธีการแต่งตัวของสำนักงานสืบสวนสอบสวนกลาง (F. B.I.) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีคณะกรรมการทบทวนการอนุญาตให้มีการสืบสวนสอบสวนด้วยวิธีการแฝงตัวตรวจสอบการใช้อำนาจอนุญาตของผู้ใช้อำนาจอนุญาตให้มีการสืบสวนสอบสวนด้วยวิธีการแฝงตัวทำให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติการสืบสวนสอบสวนด้วยวิธีการแฝงตัวจึงสมควรนำเอาหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจอนุญาตให้มีการสืบสวนสอบสวนด้วยวิธีการแฝงตัวที่มีใช้อยู่ในสำนักงานสืบสวนสอบสวนกลาง (F. B.I.) ประเทศสหรัฐอเมริกามาเป็นแนวทางในการตรวจสอบถ่วงดุลย์การใช้อำนาจอนุญาตให้มีการสืบสวนสอบสวนด้วยวิธีการแฝงตัวของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษตามนาฎหมายนี้สำหรับการรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาจาการสืบสวนสอบสวนด้วยวิธีการแฝงตัวนั้นตามแนวคำพิพากษาฎีกาจนถึงปัจจุบันศาลยอมรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาจากการสืบสวนลีกาสวนด้วยวิธีการแฝงตัวลงโทษจำเลยได้แต่จะต้องเป็นพยานหลักฐานที่มิได้เกิดขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการล่อลวงให้มีการกระทำความผิดจึงสมควรส่งเสริมให้ใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนด้วยวิธีการแฝงตัวหาพยานหลักฐานลงโทษผู้กระทำความผิดต่อไป