Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงการนำการอนุญาโตตุลาการโดยสมัครใจที่เกิดขึ้นภายในประเทศมาระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในสามประเด็นคือ ความสมบูรณ์ การละเมิดและผู้ใดเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ผลการวิจัยพบว่า ในประเทศไทยยังไม่กระจ่างว่าข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในสามประเด็นดังกล่าวเป็น ''ข้อพิพาท ทางแพ่ง" ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 หรือไม่ อันเป็นผลมาจากการไม่มีแนวคำพิพากษาของศาลที่วินิจฉัยว่าอนุญาโตตุลาการสามารถชี้ขาดข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในประเด็นทั้งสามได้หรือไม่และไม่มีความเห็นของนักกฎหมายไทยแสดงไว้โดยตรงต่อประเด็นทั้งสามและไม่สามารถนำกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายว่าด้วยการจัดทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ประกอบการพิจารณาได้ จากปัญหาดังกล่าวทำให้คู่กรณีในข้อพิพาทประเภทนี้ลังเลใจที่จะนำการอนุญาโตตุลาการมาระงับข้อพิพาท เนื่องจากเกรงว่าศาลไทยอาจพิจารณาว่าข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสามประเด็นเป็นข้อพิพาทที่คู่กรณีไม่สามารถตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ตามมาตรา 5 และอาจปฏิเสธที่จะจำหน่ายคดีหรือปฏิเสธที่จะบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ผู้วิจัยเสนอให้แก้ไขเพิ่มเดิมมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ว่า "ข้อพิพาททางแพ่งที่คู่กรณีไม่สามารถตกลงให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดได้คือ ข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือมีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดของเจ้าหน้าที่รัฐ" และเสนอแนวทางต่อศาลไทยใช้ในการวินิจฉัยว่าข้อพิพาทเกี่ยวกับความสมบูรณ์ การละเมิดและผู้ใคเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาคู่กรณีสามารถตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้หรือไม่ หากศาลไทยวินิจฉัยตามแนวทางนั้นจะทำให้เกิดความกระจ่างว่าเฉพาะข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาต่อไปนี้เท่านี้นที่คู่กรณีไม่สามารถตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ 1. ข้อพิพาทที่คู่กรณีตกลงให้อนุญาโตตุลาการมีอำนาจเพิกถอนทรัพย์สินทางปัญญาได้หากอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าทรัพย์สินทางปัญญาไม่สมบูรณ์เนื่องจากเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย 2. ข้อพิพาทที่คู่กรณีมีความสัมพันธ์อย่างนายจ้างและลูกจ้างตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เนื่องจากเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย 3. ข้อพิพาทที่คู่กรณีตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของธรรมสิทธิ เนื่องจากเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย 4. ข้อพิพาทที่คู่กรณีตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดในประเด็นเรื่องความสมบูรณ์และผู้ใดเป็นเจ้าของที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากรัฐเพื่อจดทะเบียนสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้าเนื่องจากกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดของเจ้าหน้าที่รัฐ