DSpace Repository

การระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่อาจใช้อนุญาโตตุลาการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิชัยศักดิ์ หรยางกูร
dc.contributor.author ณัฐวัฒน์ ใบบัว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-07-13T03:34:48Z
dc.date.available 2020-07-13T03:34:48Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9743461795
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66998
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงการนำการอนุญาโตตุลาการโดยสมัครใจที่เกิดขึ้นภายในประเทศมาระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในสามประเด็นคือ ความสมบูรณ์ การละเมิดและผู้ใดเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ผลการวิจัยพบว่า ในประเทศไทยยังไม่กระจ่างว่าข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในสามประเด็นดังกล่าวเป็น ''ข้อพิพาท ทางแพ่ง" ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 หรือไม่ อันเป็นผลมาจากการไม่มีแนวคำพิพากษาของศาลที่วินิจฉัยว่าอนุญาโตตุลาการสามารถชี้ขาดข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในประเด็นทั้งสามได้หรือไม่และไม่มีความเห็นของนักกฎหมายไทยแสดงไว้โดยตรงต่อประเด็นทั้งสามและไม่สามารถนำกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายว่าด้วยการจัดทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ประกอบการพิจารณาได้ จากปัญหาดังกล่าวทำให้คู่กรณีในข้อพิพาทประเภทนี้ลังเลใจที่จะนำการอนุญาโตตุลาการมาระงับข้อพิพาท เนื่องจากเกรงว่าศาลไทยอาจพิจารณาว่าข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสามประเด็นเป็นข้อพิพาทที่คู่กรณีไม่สามารถตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ตามมาตรา 5 และอาจปฏิเสธที่จะจำหน่ายคดีหรือปฏิเสธที่จะบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ผู้วิจัยเสนอให้แก้ไขเพิ่มเดิมมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ว่า "ข้อพิพาททางแพ่งที่คู่กรณีไม่สามารถตกลงให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดได้คือ ข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือมีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดของเจ้าหน้าที่รัฐ" และเสนอแนวทางต่อศาลไทยใช้ในการวินิจฉัยว่าข้อพิพาทเกี่ยวกับความสมบูรณ์ การละเมิดและผู้ใคเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาคู่กรณีสามารถตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้หรือไม่ หากศาลไทยวินิจฉัยตามแนวทางนั้นจะทำให้เกิดความกระจ่างว่าเฉพาะข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาต่อไปนี้เท่านี้นที่คู่กรณีไม่สามารถตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ 1. ข้อพิพาทที่คู่กรณีตกลงให้อนุญาโตตุลาการมีอำนาจเพิกถอนทรัพย์สินทางปัญญาได้หากอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าทรัพย์สินทางปัญญาไม่สมบูรณ์เนื่องจากเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย 2. ข้อพิพาทที่คู่กรณีมีความสัมพันธ์อย่างนายจ้างและลูกจ้างตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เนื่องจากเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย 3. ข้อพิพาทที่คู่กรณีตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของธรรมสิทธิ เนื่องจากเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย 4. ข้อพิพาทที่คู่กรณีตกลงให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดในประเด็นเรื่องความสมบูรณ์และผู้ใดเป็นเจ้าของที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากรัฐเพื่อจดทะเบียนสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้าเนื่องจากกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดของเจ้าหน้าที่รัฐ
dc.description.abstractalternative This thesis studies the settlement of validity, infringement and ownership of intellectual property ("IP") disputes by the domestic arbitration agreed by the disputants. This research concludes that, in Thailand, there are the ambiguities in considering whether the three said issues of IP disputes are arbitrable according to Section 5 of the Arbitration Act B.E.2530 ("Arbitration Law") or not. It is caused by inexistence of court precedent and Thai legal scholars do not provide indication for interpreting whether the parties can agree to arbitrate the said IP disputes. Additionally, IP Laws and Establishment of IP Court Law cannot be used to clarify these ambiguities. The problems cause hesitation to the IP disputants in using the arbitration to settle their disputes because they are afraid that Thai court may consider those disputes are not arbitrable according to Section 5 of Arbitration Law, and may refuse to stay the proceeding or to enforce the arbitral award. The author proposes amendment of Section 5 of Arbitration Law to prescribe the non-arbitrable disputes to become the civil disputes violating public policy or required by law that it falls under the discretion of state official, and I would like to propose an approach for the Thai court to use in considering whether the parties can agree to settle the validity, infringement and ownership of IP disputes by arbitration or not. Should Thai court follow such approach, it can shed clarification that only the following IP disputes are not arbitrable: 1. the dispute the parties agree the arbitrator can revoke IP right if he consider it not valid because such dispute violates public policy; 2. the dispute the parties, having employment relationship, agree to arbitrate who own the copyright because such dispute violates public policy; 3. the dispute the parties agree to arbitrate who own the moral right because such dispute violates public policy; and 4. the dispute the parties agree to arbitrate the validity and ownership in grant procedure of patent and trademark because they are required by laws that they fall under the discretion of state official.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject อนุญาโตตุลาการ
dc.subject การระงับข้อพิพาท
dc.subject ทรัพย์สินทางปัญญา
dc.subject สิทธิบัตร
dc.subject ลิขสิทธิ์
dc.subject เครื่องหมายการค้า
dc.title การระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่อาจใช้อนุญาโตตุลาการ
dc.title.alternative Arbitrability of intellectual property disputes
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายธุรกิจ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record