dc.contributor.advisor |
ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์ |
|
dc.contributor.author |
กุลภา ชัยรัตน์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-07-14T07:37:56Z |
|
dc.date.available |
2020-07-14T07:37:56Z |
|
dc.date.issued |
2551 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67042 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพของเมืองน่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและองค์ประกอบของเมืองน่าน 3) เสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการคงไว้ซึ่งองค์ประกอบของเมืองน่าน ในบริบททางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยต่างๆวิธีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพของเมือง ดำเนินการโดยวิเคราะห์ลักษณะรูปแบบ รูปร่างของเมือง รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน รูปแบบการคมนาคม และสิ่งปลูกสร้าง พบว่า เมืองน่านในยุคเมืองปัวและเวียงภูเพียงแช่แห้งมีโครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพที่คล้ายคลึงกันคือ มีการสร้างเมืองบนพื้นที่สูง รูปร่างของเมืองเป็นรูปวงรีตามลักษณะภูมิประเทศ และมีพระธาตุเจดีย์บนดอยเป็นศูนย์กลางของเมือง อันเป็นรูปแบบของเมืองในวัฒนธรรมของเมืองในลุ่มแม่น้ำกก ต่อมาในยุคเวียงใต้เมืองน่านมีการตั้งเมืองอยู่บนที่ราบลุ่มริมแม่น่าน อันเป็นรูปแบบจากวัฒนธรรมจากทราวดี รูปร่างของเมืองเป็นรูปทรงอิสระ คล้ายวงกมล ในช่วงยุคเวียงใต้นี้ เมืองน่านตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนา
ทำให้อิทธิพลของวัฒนธรรมล้านนาเข้ามามีบทบาทในเมืองน่าน เห็นได้จาก องค์ประกอบเมืองที่เป็นแบบแผนของล้านนา อันได้แก่ ข่วงเมือง และมิ่งเมือง รวมถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนาในวัดสำคัญหลายแห่ง ยุคเวียงดงพระเนตรเมืองน่านได้รับอิทธิพลจากเชียงใหม่ประกอบกับมีวิทยาการที่พัฒนาขึ้นทำให้รูปทรงของเมืองมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทรงเรขาคณิต ยุคเวียงน่านในช่วง พ.ศ. 2400 เมืองน่านพัฒนาเป็นเมืองที่มีแบบแผนตามคติความเชื่อของเมืองล้านนาอย่างสมบูรณ์ องค์ประกอบภายในเมืองประกอบไปด้วย หอคำ ข่วงเมือง มิ่งเมือง สะดือเมือง พระธาตุใจกลางเมือง รวมถึงวัดสำคัญอีกหลายแห่ง ที่ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ยุคเทศบาลเมืองน่านเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการปฏิรูปการปกครอง เมืองน่านกลายเป็นเมืองที่มีบทบาทเป็นศูนย์กลางการปกครองและพาณิชยกรรมของจังหวัด ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพอย่างชัดเจนโดยเฉพาะรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่ไม่มีการแบ่งโซนตามชนชั้น เกิดย่านพาณิชยกรรมขนาดใหญ่ขึ้นภายในตัวเมืองรวมถึงการตั้งถิ่นฐานที่เปลี่ยนจากการตั้งถิ่นฐานแบบกระจุกตัวเป็นการตั้งถิ่นฐานตามเส้นทางคมนาคม องค์ประกอบบางอย่างของเมืองหมดความสำคัญและถูกรื้อถอนทำลายลง อาทิ กำแพงเมือง ประตูเมือง ป้อมปืนใหญ่ ในขณะที่วัด ข่วงเมือง มิ่งเมือง สะดือเมือง ยังคงอยู่ แต่กำลังถูกคุกคามจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาเมืองน่าน ได้แก่ การกำหนดแผนการอนุรักษ์คุณค่าและเอกลักษณ์ของเมืองน่านให้คงอยู่ โดยใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าควบคู่พื้นที่ภายในเขตเมืองเก่าและพื้นที่ต่อเนื่องของเมือง ควบคู่ไปกับการปลูกจิตสำนึกของคนในเมืองให้ตระหนักถึงความสำคัญขององค์ประกอบของเมืองเก่าอีกด้วย |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The objectives of the research are 1) to study on the transformation of urban structure and physical elements of Nan city from the past to present, 2) to study the factors that affect the transformation of urban structure and physical elements of Nan city and 3) to suggest policies in order to maintain the elements of Nan city in cultural, social and economic contexts among the transformation of time. The methods to study the transformation of urban structure and physical elements of Nan city are; to study pattern, from, land use, transportation and building pattern. The research finds out that Nan city during Mueang Pua and Wiang Phu Phiang Chae Haeng period had similar structure and physical elements. These are 1) the city formation is on the high land 2) the urban form is oval influenced by the topography 3) there is a relic pagoda on the hill. This is the prototype city center pattern in Kok river watershed. During Wiang Tai period, Nan city was located near the basin and its structure was influenced by Dvaravati culture.Thus, Nan city shape was a free form and almost round. Later, Nan city was colonized by the Kingdom of Lanna. Therefore, the influence of Elements of Lanna pattern can be seen in Nan city. Those are Kuang Muang (public space), Ming Muang (city pillar) and Lanna architecture in many magnificent temples. During Wiang Dong Phranet period, Nan city was influenced by Chieng Mai and technology so its shape was a rectangular form. During Wiang Nan period around 2400B.E., Nan city was developed to be a Lanna city. The elements of the city consist of Ho-kham (palace), Kuang Muang (public space), Ming Muang (city pillar), Sadue Muang (center city), Pra-Tat in the center city (a relic of the Buddha) and many important temples which can be found now. During Nan municipality period, the city transformation occurred due to the political reform. Nan city turned to be the center of administration and commerce of the province. The transformation of urban structure and physical elements were obviously occurred especially the landuse was not classified by social classes. The commercial area expanded occurred in the city. The settlement form changed from a cluster to be a linear pattern. Also some elements of city such as city wall, city gate and fort lose their importance and were demolished. Anyway, temples, Kuang Muang, Ming Muang and Sadue Muang are still exist, even though it has been influenced by globalization. According to the development policy, it is suggested that the historical tourism should be promoted together with the maintainance of the identity of the old town. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1088 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
เมือง -- ไทย -- น่าน |
en_US |
dc.subject |
ผังเมือง |
en_US |
dc.subject |
การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ -- ไทย -- น่าน |
en_US |
dc.subject |
Cities and towns -- Thailand -- Nan |
en_US |
dc.subject |
City planning |
en_US |
dc.subject |
Human settlements -- Thailand -- Nan |
en_US |
dc.title |
การเปลี่ยนโครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพของเมืองน่าน |
en_US |
dc.title.alternative |
Transformation of urban structure and physical elements of Nan City |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
การวางผังเมือง |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2008.1088 |
|