dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ สภาพการอยู่อาศัยและปัญหาการอยู่อาศัยในหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ใช้วิธีการสำรวจ สังเกต และรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามนักศึกษา จำนวน 384 ตัวอย่าง โดยแบ่งกลุ่มหอพักเป็น 3 กลุ่ม คือ หอพักของมหาวิทยาลัย หอพักเอกชน (เครือข่ายหอพักมหาวิทยาลัย) และหอพักเอกชน (ไม่ใช่เครือข่ายหอพักมหาวิทยาลัย) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญแต่ภายใต้อาคารแบบเจาะจง คือ หอพักหญิง หอพักชาย และหอพักผสม นอกจากนี้ยังใช้การสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสำนักงานหอพักมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อเป็นแนวทางในการเสนอแนะการจัดหอพักนักศึกษาต่อไป ผลการวิจัย มีสาระสำคัญคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ที่พักในหอพัก ส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัด ซึ่งมีมากถึงร้อยละ 81.5 ส่วนใหญ่เรียนอยู่คณะสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ชั้นปีที่ 1 รายได้รวมของครอบครัว มีมากกว่า 40,000 บาท/เดือน จากการศึกษารายรับและรายจ่าย พบว่า นักศึกษาหอพักของมหาวิทยาลัยมีรายรับ 7,001-9,000 บาท/เดือน ซึ่งน้อยกว่านักศึกษาหอพักเอกชนที่มีรายรับ 9,001-12,000 บาท/เดือน นอกจากนี้ยังพบว่า นักศึกษาหอพักของมหาวิทยาลัยเสียค่าใช้จ่ายด้านที่พักอาศัย (ค่าหอพัก ค่าน้ำ และค่าไฟฟ้า) คิดเป็นร้อยละ 27 ของรายได้ ซึ่งน้อยกว่าหอพักเอกชนที่เสียค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 50 ของรายได้ อย่างไรก็ตามนักศึกษาหอพักมหาวิทยาลัยใช้จ่ายด้านการอยู่อาศัย (ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าซักผ้า และอื่น ๆ) มากถึงประมาณ ร้อยละ 63 ขณะที่นักศึกษาหอพักเอกชน ใช้จ่ายเพียงประมาณ ร้อยละ 46
ด้านสภาพการอยู่อาศัยในหอพัก พบว่า หอพักของมหาวิทยาลัยแยกเป็นหอชายและหอหญิงชัดเจน มีสิ่งอำนวยความสะดวกและการรักษาความปลอดภัยครบครัน สำหรับหอพักเอกชนส่วนใหญ่มีการอยู่ปะปนกันระหว่างหญิงชาย ไม่ได้มีการแยกอย่างชัดเจน สิ่งอำนวยความสะดวกที่ขึ้นอยู่กับราคาค่าเช่า สำหรับระบบรักษาความปลอดภัย ส่วนใหญ่มีประตู ปิด-เปิด ด้วยการ์ด โทรทัศน์วงจรปิด และบันไดหนีไฟ มีข้อสังเกตคือ หอพักมีการติดตั้งเหล็กตัดบริเวณหน้าต่าง โดยหอพักเอกชนส่วนใหญ่มีสวนหย่อม และสถานที่สำหรับออกกำลังกาย สำหรับการพักอาศัย นักศึกษาส่วนใหญ่พักอาศัย 2 คนต่อห้อง และมีพฤติกรรมการอยู่อาศัยทั้ง 3 กลุ่มไม่แตกต่างกัน โดยในวันธรรมดาตื่นนอน เวลา ประมาณ 7:00 น.-8:00 น. รับประทานอาหารเช้า เวลา 8:00 น.-9:00 น. และเข้านอนในเวลา 23:00 น.-24:00 น. แต่ในวันหยุด นักศึกษาจะตื่นนอนช้ากว่าในวันธรรมดาประมาณ 1 ชั่วโมง และมักจะไม่รับประทานอาหารเช้า มากถึงร้อยละ 48.2 หอพักนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ใกล้ที่เรียน นักศึกษาจึงสามารถเดินไปเรียนได้ ปัญหาการอยู่อาศัยในหอพัก พบปัญหาที่สำคัญ คือด้านสภาพแวดล้อม ด้านหอพักมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการและด้านการอยู่อาศัย โดยหอพักของมหาวิทยาลัยมีปัญหากลิ่น เสียงดังรบกวนจากภายนอก และบรรยากาศภายในห้องพักไม่เอื้อต่อการเรียน หอพักเอกชนพบปัญหาค่าเช่าสูง มีพื้นที่ทำกิจกรรมน้อย และการมีความสัมพันธ์ทางเพศของนักศึกษา จากสภาพและปัญหาดังกล่าวข้างต้น พบว่าควรมีแนวทางการจัดหอพัก ดังนี้ 1. ปัญหาสภาพแวดล้อมของหอพัก ควรมีมาตรการช่วยเหลือนักศึกษา เช่นการจัดกิจกรรม 5 ส สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่าหอพักเอกชนส่วนใหญ่ไม่มีสถานที่พักผ่อนและทำกิจกรรมอื่น โดยทางหอพักของมหาวิทยาลัยอาจตั้งเป็นเกณฑ์ในการเข้าร่วมเป็นหอพักเครือข่ายหอพักมหาวิทยาลัย 2. ปัญหาจำนวนหอพักมีไม่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา ซึ่งอาจเป็นผลทำให้หอพักเอกชนมีปัญหาค่าเช่าสูงด้วย โดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยรังสิต กำลังมีนโยบายในการจัดหาหอพักให้นักศึกษา อย่างไรก็ตาม ทางมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องพักด้วย เพื่อให้มีบรรยากาศที่ดีในการเรียน 3. ปัญหาการอยู่อาศัย พบปัญหาการมีสัมพันธ์ทางเพศของนักศึกษา เป็นผลมาจากปัญหาการอยู่ปะปนกันระหว่างชายหญิง ซึ่งถึงแม้จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการ แต่ทางมหาวิทยาลัยควรส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบเป็นประจำด้วย โดยเฉพาะในหอพักเอกชน (เครือข่ายหอพักมหาวิทยาลัย) |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The main purpose of this research was to study the social, economic and living conditions in dormitories provided for Rangsit University students as well as their living problems. This research was conducted through survey, observation and the data were collected by asking 384 students to fill out a questionnaire. The dormitories were dividied into three groups: university dormitory, private dormitory (under the university dormitory network) and private dormitory (not under the university dormitory network). Random sampling was conducted in specific buildings: female dormitory, male dormitory and mixed-gender dormitory. Interviews with the director of the university dormitory were also carried out to outline guidelines for further dormitory management. It was found that: 81.5% of dormitory residents were from upcountry. Most of them were freshmen studying in health sciences-related faculties. Their total family income was more than 40,000 baht/month. According to the study of income and expenses, the income of the university dormitory was 7,001-9,000 baht/month, while that of the private dormitory was 9,001-12,000 baht/month. The expenses of the university dormitory (building, water and electricity) accounted for 27% of its income whereas those of the private university accounted for 50% of its income. The living expenses (food, traveling, laundry, and others) of students who stayed at university dormitory accounted for 63% while those of students who stayed at private university accounted for 46%. In terms of living condition, female and male students stayed in different dormitories provided by the university. The dormitories were fully equipped and the security was tight. However, most private dormitories allow female and male students to stay in the same dormitory and the facilities depended on the rent. As for security system, most doors of the private dormitories were operated by keycards, close-circuit televisions were installed and fire exit ladders were provided. It should be noted that there were grills on windows. Most private dormitories did not provide a miniature garden and an exercise area. There were two students in most rooms and there were no differences between students' living behavior in those three groups of dormitory. During weekdays, they woke up from 07.00 to 08.00, had breakfast from 08.00 to 09.00 and went to bed from 23.00 to 24.00 However, during weekends, they woke up one hour later than normal and 48.2% did not have breakfast. Most dormitories were located near the university so the students walked to the university. Problems about environment, the number of dormitory rooms and living conditions arose. The university dormitories were faced with foul odor, noises from outside and the atmosphere in the room was not suitable for learning. The number of dormitory rooms did not meet the demand. As for the private dormitory. The rents were high and the area for performing activities was small. In addition, there existed sexual problems among the students staying in private dormitories. Due to the above conditions and problems, three problems should be dealt with as follows: 1. the environment of the dormitory, 2. the number of dormitory and 3. living condition problems. As for the first problem, there should be measures to help the students such as organizing 5 Sor activities. As for external environment, most private dormitories do not provide a resting area and an area for performing other activities. The university should set a criterion for private dormitories which wish to be under the university dormitory network whereby they have to provide a resting area and an area for performing other activities. As for the second problem, since the number of dormitory rooms does not correspond to the number of students, the rents of private dormitories are high. The university administrators are planning to provide more dormitory rooms for students. However, they should also focus on both internal and external environments to promote a good learning environment. As for the third problem, sexual problems result from allowing both male and female students staying in the same dormitory. The university should have officials check the private dormitories (under the university dormitory network) regularly. |
en_US |