Abstract:
การศึกษามีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) ศึกษาสภาพของสวนสาธารณะ ตลอดจนความต้องการและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสวนสาธารณะ 2) ศึกษาอิทธิพลและรัศมีการให้บริการ 3) วิเคราะห์ที่ตั้งเหมาะสมในการสร้างสวนสาธารณะ 4) เสนอแนะแนวทางในการจัดหาและพัฒนาสวนสาธารณะ โดยวิธีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ด้วยเทคนิควิธีการวางช้อนทับและให้ค่าน้ำหนักคะแนนกับตัวแปรเชิงพื้นที่ จำนวน 6 ตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า มีผู้มาใช้บริการสวนสาธารณะจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงเย็น และนิยมทำกิจกรรมพักผ่อนด้วยการออก กำลังกาย โดยผู้มาใช้บริการสวนสาธารณะเป็นประจำส่วนมากจะอยู่ในเขตพื้นที่บริการของสวนสาธารณะแต่ละแห่ง ส่วนสภาพปัญหาของสวนสาธารณะ พบว่าสวนมีสภาพทรุดโทรม ขาดการดูแลรักษา ทั้งทางด้านสิ่งบริการ และขาดกิจกรรมที่ดึงดูดให้ประชาชนมาให้บริการ นอกจากนี้การศึกษารัศมีการให้บริการของสวนสาธารณะพบว่า สวนละแวกบ้าน สวนระดับชุมชน และสวนระดับเมือง มีรัศมีการให้บริการ 0.8, 2, และ 4 กิโลเมตร ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์พื้นที่การให้บริการของสวนสาธารณะที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถให้บริการทั่วถึง และยังมีพื้นที่ที่ขาดแคลนการให้บริการและจำเป็นต้องจัดหาพื้นที่เพิ่มเติม การจัดหาพื้นที่เพื่อพัฒนาสวนสาธารณะ ตามเกณฑ์ City Plan Agenda Thailand (1975) ได้พิจารณาความต้องการด้านขนาดของพื้นที่ของสวนกับจำนวนประชากรที่ระบุบไว้ว่ามีมาตรฐาน 2.5 ไร่ ต่อประชากร 1,000 คน จากเกณฑ์ดังกล่าวพบว่าพื้นที่รายตำบลของเมืองเชียงใหม่ยังขาดแคลนสวนสาธารณะยกเว้น เพียงตำบลช้างเผือกเท่านั้น จำเป็นต้องจัดหาพื้นที่เพิ่มเติมทั้งหมด สำหรับสวนสาธารณะอีก 196 ไร่ โดยพิจารณาจากที่ดินที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาจำนวน 123 แปลง ซึ่งเป็นฐานข้อมูลจากสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) และการแปลงภาพถ่ายทางอากาศข้อมูลเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2548 มาทำการวิเคราะห์โดยปัจจัยต่างๆ ดังนี้ พื้นที่ที่ขาดแคลนสวนสาธารณะ ความหนาแน่นประชากร พื้นที่โล่งว่าง การถือครองที่ดิน จำนวนและประเภทของถนนที่เข้าถึง ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้แบ่งแปลงที่ดินที่ทำการรวมค่าคะแนน ในทุกๆ ปัจจัยออกเป็น 3 ดับ คือ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก ปานกลาง น้อย จากนั้นทำการพิจารณาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากและปานกลางอีกครั้ง โดนพิจารณาจากปัจจัยด้านตำบลที่ขาดแคลนและการถือครองที่ดิน พบว่ามีที่ดินที่เสนอแนะในการพัฒนาสวนสาธารณะจำนวนทั้งสิ้น 12 แปลง (มีค่าคะแนนสูง) ทีพื้นที่ทั้งหมดรวม 198 ไร่ ในพื้นที่นี้พบว่าเป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนจำนวน 3 แปลง สวนสาธารณะระดับละแวกบ้านจำนวน 9 แปลง และเมื่อพิจารณาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกับพื้นที่สวนสาธารณะเดิม ทำให้มีพื้นที่เพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐาน และสามารถให้บริการคลอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ นอกจากนี้หากวิเคราะห์จากมาตรฐานการทางกฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ระบุถึงการจัดสรรที่ว่างทั้งเพื่อความปลอดภัยหรือรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ว่างที่กฎหมายฉบับต่างๆ กล่าวถึงไม่ได้ระบุเพื่อการสร้างสวนสาธารณะโดยตรง แต่สามารถพัฒนาที่ว่างที่เกิดจากกฎหมายเหล่านี้ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหรือส่วนหย่อมเพื่อประชาชนในละแวกนั้นได้ใช้ประโยชน์นอกเหนือจากสวนสาธารณะเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ผลที่ได้รับจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา พฤติกรรมการใช้บริการสวนสาธารณะ และศักยภาพของสวนสาธารณะ ได้มีการเสนอแนะให้มีการปรับปรุงสวนสาธารณะเดิมไว้ดังนี้ คือ เสนอให้มีการปรับปรุงสิ่งบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มเติมกิจกรรมที่จะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการในสวนสาธารณะ และการปรับปรุงตกแต่งสภาพสวนบางแห่งให้มีความสวยงามและปลอดภัยยิ่งขึ้น พร้อมกับการประชาสัมพันธ์สวนสาธารณะที่มีผู้มาใช้บริการน้อยให้เป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น