DSpace Repository

การจัดหา และพัฒนาพื้นที่สวนสาธารณะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดิ์ชัย ศิรินทร์ภาณุ
dc.contributor.author นิเวศน์ พูนสุขเจริญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-07-15T09:27:47Z
dc.date.available 2020-07-15T09:27:47Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741748191
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67079
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
dc.description.abstract การศึกษามีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) ศึกษาสภาพของสวนสาธารณะ ตลอดจนความต้องการและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสวนสาธารณะ 2) ศึกษาอิทธิพลและรัศมีการให้บริการ 3) วิเคราะห์ที่ตั้งเหมาะสมในการสร้างสวนสาธารณะ 4) เสนอแนะแนวทางในการจัดหาและพัฒนาสวนสาธารณะ โดยวิธีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ด้วยเทคนิควิธีการวางช้อนทับและให้ค่าน้ำหนักคะแนนกับตัวแปรเชิงพื้นที่ จำนวน 6 ตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า มีผู้มาใช้บริการสวนสาธารณะจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงเย็น และนิยมทำกิจกรรมพักผ่อนด้วยการออก กำลังกาย โดยผู้มาใช้บริการสวนสาธารณะเป็นประจำส่วนมากจะอยู่ในเขตพื้นที่บริการของสวนสาธารณะแต่ละแห่ง ส่วนสภาพปัญหาของสวนสาธารณะ พบว่าสวนมีสภาพทรุดโทรม ขาดการดูแลรักษา ทั้งทางด้านสิ่งบริการ และขาดกิจกรรมที่ดึงดูดให้ประชาชนมาให้บริการ นอกจากนี้การศึกษารัศมีการให้บริการของสวนสาธารณะพบว่า สวนละแวกบ้าน สวนระดับชุมชน และสวนระดับเมือง มีรัศมีการให้บริการ 0.8, 2, และ 4 กิโลเมตร ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์พื้นที่การให้บริการของสวนสาธารณะที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถให้บริการทั่วถึง และยังมีพื้นที่ที่ขาดแคลนการให้บริการและจำเป็นต้องจัดหาพื้นที่เพิ่มเติม การจัดหาพื้นที่เพื่อพัฒนาสวนสาธารณะ ตามเกณฑ์ City Plan Agenda Thailand (1975) ได้พิจารณาความต้องการด้านขนาดของพื้นที่ของสวนกับจำนวนประชากรที่ระบุบไว้ว่ามีมาตรฐาน 2.5 ไร่ ต่อประชากร 1,000 คน จากเกณฑ์ดังกล่าวพบว่าพื้นที่รายตำบลของเมืองเชียงใหม่ยังขาดแคลนสวนสาธารณะยกเว้น เพียงตำบลช้างเผือกเท่านั้น จำเป็นต้องจัดหาพื้นที่เพิ่มเติมทั้งหมด สำหรับสวนสาธารณะอีก 196 ไร่ โดยพิจารณาจากที่ดินที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาจำนวน 123 แปลง ซึ่งเป็นฐานข้อมูลจากสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) และการแปลงภาพถ่ายทางอากาศข้อมูลเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2548 มาทำการวิเคราะห์โดยปัจจัยต่างๆ ดังนี้ พื้นที่ที่ขาดแคลนสวนสาธารณะ ความหนาแน่นประชากร พื้นที่โล่งว่าง การถือครองที่ดิน จำนวนและประเภทของถนนที่เข้าถึง ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้แบ่งแปลงที่ดินที่ทำการรวมค่าคะแนน ในทุกๆ ปัจจัยออกเป็น 3 ดับ คือ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก ปานกลาง น้อย จากนั้นทำการพิจารณาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากและปานกลางอีกครั้ง โดนพิจารณาจากปัจจัยด้านตำบลที่ขาดแคลนและการถือครองที่ดิน พบว่ามีที่ดินที่เสนอแนะในการพัฒนาสวนสาธารณะจำนวนทั้งสิ้น 12 แปลง (มีค่าคะแนนสูง) ทีพื้นที่ทั้งหมดรวม 198 ไร่ ในพื้นที่นี้พบว่าเป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนจำนวน 3 แปลง สวนสาธารณะระดับละแวกบ้านจำนวน 9 แปลง และเมื่อพิจารณาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกับพื้นที่สวนสาธารณะเดิม ทำให้มีพื้นที่เพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐาน และสามารถให้บริการคลอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ นอกจากนี้หากวิเคราะห์จากมาตรฐานการทางกฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ระบุถึงการจัดสรรที่ว่างทั้งเพื่อความปลอดภัยหรือรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ว่างที่กฎหมายฉบับต่างๆ กล่าวถึงไม่ได้ระบุเพื่อการสร้างสวนสาธารณะโดยตรง แต่สามารถพัฒนาที่ว่างที่เกิดจากกฎหมายเหล่านี้ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหรือส่วนหย่อมเพื่อประชาชนในละแวกนั้นได้ใช้ประโยชน์นอกเหนือจากสวนสาธารณะเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ผลที่ได้รับจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา พฤติกรรมการใช้บริการสวนสาธารณะ และศักยภาพของสวนสาธารณะ ได้มีการเสนอแนะให้มีการปรับปรุงสวนสาธารณะเดิมไว้ดังนี้ คือ เสนอให้มีการปรับปรุงสิ่งบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มเติมกิจกรรมที่จะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการในสวนสาธารณะ และการปรับปรุงตกแต่งสภาพสวนบางแห่งให้มีความสวยงามและปลอดภัยยิ่งขึ้น พร้อมกับการประชาสัมพันธ์สวนสาธารณะที่มีผู้มาใช้บริการน้อยให้เป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น
dc.description.abstractalternative The thesis objectives are : 1) to study the general conditions of public park including demand and people's opinion toward the public park. 2) to study the influences and the service radius. 3) to analyze the suitable location for developing new public park. 4) to propose the allocation for development of public parks guidelines overlay technique and weighting method providing in geographic information systems (GIS) where 6 spatial variables has been rated. The results of the study found that a large number of users go to the public park especially in the evening. And the majority of users tends to spend their time by working out and lives in the service area of each public park. When considering the problem conditions of the public park. If found that the existing public parks are deteriorated, disregarded in facilities, lack of attractive activities and unwell-known. Moreover, this study found that the neighborhood, community and district public parks have the radius of services 0.8, 2 and 4 km , respectively. When analyzing the service area of the existing public parks, it hasn't covered the urban the yet and some areas are lack of servicer and needed to be allocated additional public parks. The allocation for development of public parks City Plan Agenda Thailand (1975) measurement considered the demand of public park's location size and total standard population 2.5 Rai : 1,000 persons. This study found that all districts in Chiang Mai Municipality except only Chang Peuk District needed to be allocated additional sites for 196 Rai. Considering from the potential land 123 plots satisfied by Geo-informatics and Space Technology Development Agency (Northern)'s database and adapting aerial photograph in January, 2005 to weighting from the specialists and give the score point in variable factors. These factors are the demand sites, the population density, the vacant land, the land possession, the number and types of accessible road. The result of this analysis has been for 3 levels : the highest ,medium and low suitable site. After that reconsidering the highest and the medium potential plots concentrating on the factor of the demand site and land ownership. It found that there are 12 plots which are suggested to develop (the highest score). The total required area are 198 Rai : 3 community public parks and 9 neighborhood public parks. When all these sites are considered together with the existing public parks, there are enough area to the standard and the service radius could serve to cover Chiang Mai Municipality's requirement. Furthermore, the additional plot can be provided by law measurement that are City Plan Act, Land Allocation Act, Environmental Promotion and Conservation Act ,Building Control Act , etc. All these laws have specified land allocation for safety or environmental conservation while the vacant land referred in these law haven't been specified directly for developing the public parks. However, this vacant land can be developed to be recreational areas for neighborhood besides the public parks. Besides the result of existing conditions problem conditions, people's behavior in using the public parks and the potential of public parks, this study recommended to renovate the existing public parks concentrating on their services and facilities by adding the activities to attract the utilization of the public parks. Moreover, the public park should be more decorated and kept safety along with using the public inform to be more well-known.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject สวนสาธารณะ -- ไทย -- เชียงใหม่
dc.subject สวนสาธารณะ -- การวางแผน
dc.subject Parks -- Thailand -- Chiangmai
dc.subject Parks -- Planning
dc.title การจัดหา และพัฒนาพื้นที่สวนสาธารณะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
dc.title.alternative Allocation and development of public parks in Chiang Mai Municipality
dc.type Thesis
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวางผังเมือง
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record