DSpace Repository

การศึกษาพระวินัยปิฎกเพื่อเข้าใจแนวคิดและวิวัฒนาการของพุทธสถานในอินเดีย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สันติ ฉันทวิลาสวงศ์
dc.contributor.author ทนงศักดิ์ รัตนสุคนธ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-07-16T04:50:51Z
dc.date.available 2020-07-16T04:50:51Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9743465499
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67094
dc.description วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract พระวินัยจัดเป็นปิฎกหนึ่งในปิฎก 3 อันเป็นบทบัญญัติ ที่พระภิกษุ ต้องถือปฏิบัติตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งพุทธสถาน ซึ่งแสดงให้เห็นเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของการจัดให้มีสถาปัตยกรรมประเภทต่างๆ นับตั้งแต่สมัยพุทธกาลมานานกว่า 2500 ปี สถาปัตยกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้เสื่อมสลายไปแล้ว คงปรากฎซากฐานอาคารโบราณอยู่เพียงบางส่วนเท่านั้น อย่างไรก็ดามยังคงมีบันทึกลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นหลักฐานในพระวินัยปิฎก ตลอดจนงานศิลปกรรมภาพสลักของพุทธสถาน ในยุคสมัยที่พุทธศาสนามีความรุ่งเรืองโดยเฉพาะสมัยโมริยะ(321-185 ปีก่อนคริสตกาล.) ซึ่งแสดงถึงพุทธประวัติ สภาพแวดล้อมสังคมสมัยพุทธกาล นอกจากนี้ก็ยังมีบันทึกในงานวรรณกรรมต่างๆ ทั้งหมดนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดและลักษณะสถาปัตยกรรมในสมัยพุทธกาล ตามแนวทางที่ปรากฎในพระวินัยปิฎก ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์นี้ โดยมีขอบเขตของข้อมูลในการศึกษา ตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงสมัยโมริยะ (544-185 ปี ก่อนคริสตกาล) การศึกษาวิจัยได้ใช้วิธิการค้นคว้าทางเอกสาร โดยการรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับพุทธบัญญัติในพระวินัยปิฎก เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี นำมาเรียบเรียง จัดลำดับ แล้ววิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบ ร่วมกับข้อมูลทางด้านสภาพแวดล้อมและสังคมในสมัยพุทธกาล ในการศึกษาพบว่าในสมัยพุทธกาลแนวความคิดในการจัดให้มีพุทธสถาน เกิดขึ้นเนื่องจากความ ศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนพระพุทธเจ้าจึงได้ทรงมีพุทธานุญาตให้มีสถาปัตยกรรมรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นโดยคำนึงถึงบริบททางสังคมและภูมิลักษณะของที่ตั้งเป็นสำคัญ ด้วยการใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น ไม่ได้สร้างรูปแบบขึ้นใหม่มาเป็นการเฉพาะ มี 5 ชนิด คือ วิหาร, เรือนขั้น เรือนโล้น เรือนมุงแถบเดียว และถ้ำ พร้อมทั้งได้กำหนดองค์ประกอบสถาปัตยกรรม เช่น ฐาน ประตู หน้าต่าง บันได ซุ้มประตู ราวระเปียง รั้ว การใช้สีและวัสดุ เป็นลักษณะที่คล้ายคลึงกัน นอกจากนั้นยังทรงคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยแห่งสถาปัตยกรรมเพื่อให้เกื้อกูลต่อพระภิกษุสงฆ์ในการปฏิบัติธรรม พุทธสถานในระยะแรกในสมัยพุทธกาลจึงประกอบด้วยอาคารเสนาสนะและอาคารสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยตามพระวินัย ภายหลังสมัยพุทธกาลได้เกิดมีอาคารสำหรับการ สักการบูชาเพิ่มขึ้น ซึ่งลักษณะสถาปัตยกรรมมีความใหญ่โต และมีการตกแต่งประดับประดาในรายละเอียดขององค์ประกอบของสถาปัตยกรรม เช่น ฐานและหัวเสา,หน้าต่าง เป็นต้น ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ลักษณะพุทธสถานพระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ทั้งนี้เพราะต้องไม่ให้เกิดความเดือดร้อนหรือเป็นภาระต่อผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เห็นได้ชัดว่าประโยชน์ในการจัดให้มีพุทธสถานนั้น คือเป็นที่กำบังให้เกิดความปลอดภัยจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยและภัยอันตรายต่างๆ ช่วยให้การปฏิบัติธรรมดำเนินไปได้โดยสะดวก
dc.description.abstractalternative Vinaya is one of the baskets of the Tripitaka in which religious practices and precepts for monks follow the Buddhist doctrine. Specifically, the religious precept are concerned with the establishment of Buddhist architecture. It indicated his attention and aim which permit various types of architecture since Buddhist era more than 2,500 year. Most of them have been decayed, and the remainder were only some ruins. However, they have been note to evidence Vinaya Pitaka throughout the bas-relief of Buddhist architecture which thrived in Maurya period. They have shown the lifetime of Lord Buddha, the physical and social environment in Buddhist era. Beside, there are also recards in various indian literature. All essential data would reflect the idea and characteristic of architecture in the Buddhist era as appeared in Vinaya Pitaka, this will be the objective of this thesis which studies the evidence from the Buddhist era to Maurya period (544-185 B.C.) The study was a document research which collects information about religious precepts in Vinaya Pitaka, history and archeology testimonies which were studied in accompany with environmental and social data of Buddha period. According to study, it has found that the idea of Buddhist architecture erection occurred from the faith of Buddhism. Lord Buddha allowed various types of architecture to relate to social and site context. He settled them in local style not in special design. It consisted of Vihara, Pasada, Hammiya, Addhayoga and Guha including composition such as window, base, stairs, gateway, balcony, hedge, color and material were settled in the same structure. At the same time, his idea was also related to functionalism in which supports monks in religious observance. The Buddhist architecture originally consisted of senasana and other buildings which are necessary for canonical dwelling. Later. They have been evolved to Buddhist shrine whose characteristics of architecture differed in size and forms of architecture. Besides, there is more decoration in architecture details such as pedestals and pillars, windows etc. The study has shown that Lord Buddha regulated the styles of Buddhist architecture connection with social environment to avoid being a burden for Buddhists. The original purpose of Buddhist architecture was to provide shelter from inclemency of weather and noxious things so that monks could concentrate on the teaching of Lord Buddha.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject พระวินัย
dc.subject สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา -- อินเดีย
dc.subject สถาปัตยกรรม -- อินเดีย -- 544-185 ปีก่อนคริสตกาล
dc.subject เสนาสนะ
dc.subject โบสถ์
dc.title การศึกษาพระวินัยปิฎกเพื่อเข้าใจแนวคิดและวิวัฒนาการของพุทธสถานในอินเดีย
dc.title.alternative A study of Vinaya Pitaka in order to understand the concept and the evolution of Buddhist architecture in India
dc.type Thesis
dc.degree.name สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สถาปัตยกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record