Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความคิดเกี่ยวกับตนเองในด้านความรุนแรงของนักเรียนอาชีวะชายที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทและกระบวนการสร้างความคิดเกี่ยวกับตนเองในด้านความรุนแรงและนำผลของการ ศึกษามาใช้ในการแก้ไขปัญหาการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้นำกระบวนทัศน์ของการแสวงหาความรู้แบบธรรมชาติ (Naturalistic Inquiry) มาใช้ในการเก็บข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินโดยการเก็บข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการวิจัยภาคสนาม ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตการณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนอาชีวะชาย อายุระหว่าง 15-18 ปี ที่มีประวัติการก่อเหตุทะเลาะ วิทวาทอย่างน้อยตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป และอยู่ในครอบครัวที่มารดาเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงของบิดาจำนวน 10 ราย ผลการศึกษาได้ข้อสรุปดังนี้ คือ 1.นักเรียนอาชีวะชายอายุระหว่าง 15-18 ปี ที่มีประวัติการก่อเหตุทะเลาะวิทวาทอย่างน้อยตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป และอยู่ในครอบครัวที่มารดาเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงของบิดา มีความเห็นต่อความรุนแรงในระดับปานกลาง โดยมีความคิดว่าการใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องปกติ 2.การอบรมสั่งสอนให้ใช้ความรุนแรงของครอบครัวประกอบด้วยตัวชี้วัด 5 ลักษณะ ได้แก่ การสอน ให้ใช้กำลังแก้ไขปัญหา การที่บิดาใช้ความรุนแรงต่อมารดา การใช้ก้อยคำหยาบคายดุด่า การใช้คำสั่งหรือใช้กำลังบังคับให้ทำตามที่บิดามารดาต้องการ และการลงโทษเมื่อกระทำผิดด้วยความรุนแรงพบว่านักเรียนอาชีวะชายอายุระหว่าง 15-18 ปี ที่มีประวัติการก่อเหตุทะเลาะวิวาทอย่างน้อยตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป และอยู่ในครอบครัวที่มารดาเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงของบิดาได้รับการอบรมสั่งสอนให้ใช้ความรุนแรงของครอบครัวในระดับมาก ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง 3.การเลียนแบบจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว ประกอบด้วยตัวชี้วัด 5 ลักษณะ ได้แก่ การใช้ กำลังตามที่ได้เห็นตัวอย่างจากบิดา การมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวจากการห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว การนำวิธีการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงไปใช้ การจำคำหยาบคายไปใช้ และการส่งเสริมให้ใช้ความรุนแรงของ ครอบครัว พบว่าชายนักเรียนอาชีวะชายอายุระหว่าง 15-18 ปี ที่มีประวัติการก่อเหตุทะเลาะวิวาทอย่างน้อย ตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป และอยู่ในครอบครัวที่มารดาเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงของบิดา มีการเลียนแบบจาก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวในระดับมาก ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง