DSpace Repository

ความคิดเกี่ยวกับตนเองและความรุนแรงในครอบครัว : ศึกษากรณีนักเรียนอาชีวะชายที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุภาวดี มิตรสมหวัง
dc.contributor.author ฐิติ พรหมศร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-07-16T06:56:39Z
dc.date.available 2020-07-16T06:56:39Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741428758
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67098
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความคิดเกี่ยวกับตนเองในด้านความรุนแรงของนักเรียนอาชีวะชายที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทและกระบวนการสร้างความคิดเกี่ยวกับตนเองในด้านความรุนแรงและนำผลของการ ศึกษามาใช้ในการแก้ไขปัญหาการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้นำกระบวนทัศน์ของการแสวงหาความรู้แบบธรรมชาติ (Naturalistic Inquiry) มาใช้ในการเก็บข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินโดยการเก็บข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการวิจัยภาคสนาม ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตการณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนอาชีวะชาย อายุระหว่าง 15-18 ปี ที่มีประวัติการก่อเหตุทะเลาะ วิทวาทอย่างน้อยตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป และอยู่ในครอบครัวที่มารดาเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงของบิดาจำนวน 10 ราย ผลการศึกษาได้ข้อสรุปดังนี้ คือ 1.นักเรียนอาชีวะชายอายุระหว่าง 15-18 ปี ที่มีประวัติการก่อเหตุทะเลาะวิทวาทอย่างน้อยตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป และอยู่ในครอบครัวที่มารดาเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงของบิดา มีความเห็นต่อความรุนแรงในระดับปานกลาง โดยมีความคิดว่าการใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องปกติ 2.การอบรมสั่งสอนให้ใช้ความรุนแรงของครอบครัวประกอบด้วยตัวชี้วัด 5 ลักษณะ ได้แก่ การสอน ให้ใช้กำลังแก้ไขปัญหา การที่บิดาใช้ความรุนแรงต่อมารดา การใช้ก้อยคำหยาบคายดุด่า การใช้คำสั่งหรือใช้กำลังบังคับให้ทำตามที่บิดามารดาต้องการ และการลงโทษเมื่อกระทำผิดด้วยความรุนแรงพบว่านักเรียนอาชีวะชายอายุระหว่าง 15-18 ปี ที่มีประวัติการก่อเหตุทะเลาะวิวาทอย่างน้อยตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป และอยู่ในครอบครัวที่มารดาเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงของบิดาได้รับการอบรมสั่งสอนให้ใช้ความรุนแรงของครอบครัวในระดับมาก ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง 3.การเลียนแบบจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว ประกอบด้วยตัวชี้วัด 5 ลักษณะ ได้แก่ การใช้ กำลังตามที่ได้เห็นตัวอย่างจากบิดา การมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวจากการห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว การนำวิธีการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงไปใช้ การจำคำหยาบคายไปใช้ และการส่งเสริมให้ใช้ความรุนแรงของ ครอบครัว พบว่าชายนักเรียนอาชีวะชายอายุระหว่าง 15-18 ปี ที่มีประวัติการก่อเหตุทะเลาะวิวาทอย่างน้อย ตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป และอยู่ในครอบครัวที่มารดาเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงของบิดา มีการเลียนแบบจาก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวในระดับมาก ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง
dc.description.abstractalternative This research is aimed at studying the self concept in violence aspect of male vocational students convicted of aggregated assaults and how such concept has been processed, and applying the results of this study to prevent fighting among male vocational students. The naturalistic inquiry is used in accordance with documentary and field research The data collection was carried out through in-depth interviews, observation and questionnaires with 10 male vocational students who committed on less than 5 aggravated quarrels and had been brought up in the families with mothers abused by fathers The results of the research are as follows 1.The male vocational students who committed no less than 5 aggravated quarrels and had been brought up in the families with mothers abused have perception in violence at a medium level. They think violence is a normal solution of problems. 2.The socialization process which influences their use of violence are measured by 5 indicators namely the use of power to solve problems, the abuse of their mothers, the use of rude terms, the use of order or forces to the child to do as the parents’ wants. And the punishment by using force when the child is guilty, the result reveals that the male vocational students who committed no less than 5 aggravated quarrels and had been brought up in the families with mothers abused by fathers are likely to have behavior violently. 3. Aggressive imitation which are measured by 5 indications namely repeating fatheres’ aggression behaviors, learning aggression behaviors from parents’ performance in the families, utilizing their parents’ violence conflict resolution methods, imitating the use of rude terms, and reinforcing to use violence family, was found to be high in the student who have been socialized through their indirect experiences with in their families.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1912
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject นักเรียนอาชีวศึกษา
dc.subject ความรุนแรงในครอบครัว
dc.subject การทะเลาะวิวาท
dc.subject ความรุนแรงในโรงเรียน
dc.subject ความก้าวร้าวในวัยรุ่น
dc.title ความคิดเกี่ยวกับตนเองและความรุนแรงในครอบครัว : ศึกษากรณีนักเรียนอาชีวะชายที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท
dc.title.alternative Concepts of self and domestic violence : a case study of male vocational students convicted of aggravated assaults
dc.type Thesis
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สังคมวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Supavadee.M@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2005.1912


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record