dc.contributor.advisor |
ไชยันต์ ไชยพร |
|
dc.contributor.advisor |
วีระ สมบูรณ์ |
|
dc.contributor.author |
เฉลิมชนม์ อุณหเสรี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-07-17T08:22:14Z |
|
dc.date.available |
2020-07-17T08:22:14Z |
|
dc.date.issued |
2543 |
|
dc.identifier.isbn |
9741313845 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67125 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้ศึกษาวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ปรัชญาการเมืองในคัมภีร์เต๋าเต๋อจึงด้วยวิธีการตีความ เพื่อแสวงหาความหมายของ ความยุติธรรม ซึ่งผู้ประพันธ์กวีนิพนธ์ได้กล่าวไว้อย่างเป็นรหัสนัย ไม่สามารถให้นิยามได้อย่างตรงไปตรงมา หากแต่เมื่อพิจารณาถึงกระบวนการปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง ธรรมชาติ มนุษย์ และสังคมการเมืองที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ แล้ว ผลจากการศึกษาพบว่า ความยุติธรรม ของเหลาจื๊อเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักการในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ที่มุ่งหมายและให้ความสำคัญต่อเสรีภาพของปัจเจกมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์และเสมอภาค มนุษย์ในสภาวะดังกล่าวจึงถูกมองว่าเป็นทั้งผู้ที่มีเหตุผลและความเห็นแก่ตัว คล้ายกับทัศนะของนักทฤษฎีสัญญาประชาคมตะวันตก โดยเหลาจื๊อ มีทัศนคติในแง่ติที่เห็นว่าความเห็นแก่คัวของมนุษย์นั้น คือ ความรักตนเองชนิดประณีต ที่จะทำให้มนุษย์มีความสามารถในการกำหนดตนเองภายใต้เหตุผลบริสุทธิ์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของศีลธรรมได้ และส่งผลให้สังคมการเมืองของมนุษย์มีความกลมกลืน ภายใต้คุณสมบัติคู่ขนานที่มีความประสานสอดคล้องกับความสงบสุขดั้งเดิมในสภาวะธรรมชาติได้อย่างสมดุลและเป็นเอกภาพ ดังนั้น ความยุติธรรม ตามปรัชญาการเมืองในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง จึงมีความหมายไปในทางที่สนับสนุนให้ปัจเจกมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติได้มีเสรีภาพอย่างเข้มแข็ง ทำให้แต่ละจิตใจของมนุษย์มีวิถีหรือหนทางในการแสวงหาความยุติธรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการแสวงหาความยุติธรรมในสังคมการเมือง คล้ายกับทัศนะของนักคิดทางการเมืองสมัยกรีกโบราณ นอกจากนั้น ปรัชญาการเมืองในคัมภีร์เต๋าเต๋อจึง ยังได้เสนอเงื่อนไขหลักการแห่งความยุติธรรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการครอบงำมนุษย์จากกฎ จารีต ประเพณี พิธีกรรม ที่มีอยู่ในอารยธรรมและเป็นอุปสรรคขวางกั้นมิให้มนุษย์เข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง |
|
dc.description.abstractalternative |
By taking interpretative method 1the author analyses political philosophy in TAO TE CHING scripture in search for the meaning of justice. Even though justice isn’t directly defined in the scripture, the implied meaning of that word can be derived by considering the interactive process between nature, human beings, and political societies. This study shows that justice concerns the idea of human nature. The complete freedom that any individual equally holds in the state of nature deems to be an important end of living. Therefore, human beings in that state are considered as rational and selfish. It's worth noting that this view is similar to the social contract theorists. According to Lao Tzu, selfishness is the delicate love of oneself that results in self - control in the light of pure reasons based on ethics. This makes human beings live in harmony with the original peace in the state of nature. Therefore, the meaning of justice strongly encourages individual in the state of nature to hold freedom. This enables individual to find the meaning of justice of their own. Their meanings relate to the search for /the seeking for justice in the political societies. This view is similar to the views of the ancient Greek political thinkers. Moreover, the political philosophy in the scriptures denies the domination of rules, tradition, rites that are the products of civilization over human beings. This is because that those products are immanent barrier between human beings and justice. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
การเมือง -- ปรัชญา |
|
dc.subject |
ความยุติธรรม |
|
dc.subject |
เต๋า เต๋อ จิง |
|
dc.subject |
ลัทธิเต๋า |
|
dc.title |
ปรัชญาการเมืองในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงว่าด้วยเรื่อง ความยุติธรรม |
|
dc.title.alternative |
Political philosophy in Tao Te Ching scripture on justice |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การปกครอง |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|