Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพที่ มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของพลทหารใหม่ในสังกัดกองทัพเรือและเพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล บุคลิกภาพ และความฉลาดทางอารมณ์ของพลทหารใหม่ในสังกัดกองทัพเรือ กลุ่มตัวอย่างคือพลทหารใหม่ในสังกัด กองทัพเรือ ขนาดตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์กับตัวแปรโดย Unpaired t-test, ANOVA วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ ความฉลาดทางอารมณ์ โดย Pearson's Product ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างพลทหารใหม่ในสังกัดกองทัพเรือที่ศึกษา จำนวน 400 คน เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 21-29 ปี มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นสูงสุด มีสถานภาพโสดคิดเป็นร้อยละ77.8 ผลการทดสอบ บุคลิกภาพพบว่ามีบุคลิกภาพชอบแสดงตัวคิดเป็นร้อยละ 48.8 บุคลิกภาพชอบเก็บตัวคิดเป็นร้อยละ 51.2 บุคลิกภาพแบบอ่อนไหวทางอารมณ์คิดเป็นร้อยละ 48.5 บุคลิกภาพแบบมั่นคงทางอารมณ์คิดเป็นร้อยละ 51.5 และผลการทดสอบความฉลาดทางอารมณ์ พบว่าความฉลาดทางอารมณ์ของพลทหารใหม่ในสังกัดกองทัพเรือ มีคะแนนเฉลี่ยในระดับคะแนนเฉลี่ยระดับปกติ บุคลิกภาพต่อความฉลาดทางอารมณ์ของพลทหารใหม่ในสังกัดกองทัพเรือ พบว่าบุคลิกภาพชอบ แสดงตัว ( Scale-E) ไม่มีความสัมพันธ์ กับความฉลาดทางอารมณ์ (r = 0.223) ที่ระดับ P < .001 และ บุคลิกภาพแบบอ่อนไหวทางอารมณ์ (Scale-N) มีความสัมพันธ์ทางลบ กับความฉลาดทางอารมณ์ (r = -0.366) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ P < .001 ด้านปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าปัจจัยด้าน ศาสนา อาชีพก่อนเข้ามาเป็นทหาร รายได้ก่อนเข้ามาเป็นทหาร การฝึกจากครูฝึก มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ P < .001 ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวมี ความสัมพันธ์ กับความฉลาดทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ P < .05 ความอดทนทางด้านร่างกาย ความอดทนทางด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์ กับความฉลาดทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ ระดับ P < .01