Abstract:
การวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษากระบวนการออกแบบเสียงเพื่อสร้างศานติภาวะ ในการแสดง ด้วยการนำองค์ความรู้เรื่อง soundscape หรือนิเวศวิทยาของเสียง ระบบเสียงรอบทิศทาง มาใช้ในการสร้างละครเสียงและละครเวที และนำทฤษฎีภาวะและรสในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ของอินเดีย มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งกับนักแสดงและผู้ชม โดยการนำบทละครวิทยุเรื่อง All That Fall ของซามูแอล เบ็คเก็ต และบทละครเรื่อง The Water Station ของโอตะ โชโกะ มาดัดแปลง และทดลอง นำเสนอต่อทั้งผู้ชมที่มีสายตาปกติ และผู้ชมที่พิการทางสายตา ผลการวิจัยพบว่าละครเสียงและละครเวทีที่ใช้ระบบเสียงรอบทิศทาง สามารถสื่อสารประเด็น ในการนำเสนอได้ โดยผู้ออกแบบเสียงควรเข้าใจเนื้อเรื่อง และเลือกบทละครที่มีความสอดคล้อง กับวัฒนธรรมและ ศักยภาพในการรับรู้ของผู้ชม สร้างบรรยากาศที่มีความเหมาะสมในการรับชม และคำนึงถึงคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่นำมาใช้ ผลการศึกษาด้านการแสดงของนักแสดง พบว่าการสร้างละครเวที ที่ใช้ระบบเสียงรอบทิศทาง สามารถส่งเสริมการนักแสดงของนักแสดง โดยผู้สร้างสรรค์การแสดง ควรมีความเข้าใจ ถึงลักษณะการแสดงประเภทนั้นๆ ผลความพึงพอใจ และความเห็นของผู้ชม พบว่า ผู้ชมมีความพึงพอใจต่อองค์ประกอบด้านเสียงและระบบเสียงรอบทิศทางมากกว่าองค์ประกอบด้านตัวบทและ การแสดงของนักแสดง ผู้ฟังที่พิการทางสายตามีความสามารถในการสร้างภาพในจินตนาการ สามารถ เข้าใจเนื้อเรื่อง ได้ดีกว่าผู้ฟังสายตาปกติ เมื่อรับฟังละครเสียง