DSpace Repository

ปัญหาการชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551

Show simple item record

dc.contributor.advisor สำเรียง เมฆเกรียงไกร
dc.contributor.author เสรี ธารชมพู
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-07-21T08:00:05Z
dc.date.available 2020-07-21T08:00:05Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67173
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract ขั้นตอนสุดท้ายของการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่กำลังล้มละลายหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต คือการชำระบัญชีโดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เพื่อที่จะบรรลุถึงเป้าหมายของระบบคุ้มครองเงินฝากและเพื่อสนับสนุนให้เกิดเสถียรภาพในระบบสถาบันการเงิน รวมทั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสถาบันการเงิน ด้วยการจ่ายชดเชยเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงินทั้งหลายและดำเนินการชำระบัญชีสถาบันการเงิน เพื่อปกป้องเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินโดยอำนาจที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 โดยมิได้คำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญในด้านประสิทธิภาพ ความรวดเร็วและการดำเนินการชำระบัญชีอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งกระบวนการชำระบัญชีจะไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายขั้นสุดท้ายในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องประสิทธิภาพซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการและทำให้กองทุนคุ้มครองเงินฝากรับชำระคืนมากที่สุด เพื่อป้องกันกองทุนมิให้ได้รับความเสียหายจากการชำระบัญชีสถาบันการเงิน เป้าหมายในการดำเนินการชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตจึงไม่เพียงแต่จะคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของภาครัฐเท่านั้น หากต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของภาคเอกชน ในการบรรลุถึงผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับบรรดาเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินอย่างเท่าเทียมกัน วิทยานิพนธ์นี้ชี้ให้เห็นว่าการชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญซึ่งรวมถึงการศึกษาระบบกฎหมายเปรียบเทียบ บทบัญญัติที่เกี่ยวกับอำนาจในการแบ่งแยกกองสินทรัพย์ของสถาบันการเงินและแนวคิดของ Bridge bank ซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อควบคุมและดูแลการให้บริการแก่ลูกค้าของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตก่อนที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะสามารถหาผู้ซื้อที่เหมาะสมต่อไป เช่นที่ได้กล่าวมาในข้างต้น ปัญหาการชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 ควรได้รับการแก้ไขและปรับปรุงให้เป็นเครื่องมือในการปกป้องผู้ฝากเงินและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
dc.description.abstractalternative The last step of a failing or failed bank resolution undertaken by the Deposit Insurance Agency (DPA) is liquidation, to meet the objectives of deposit protection system, contribute the stability of the financial institution system and maintain public’s confidence, to provide compensation to each depositor and liquidation of financial institution and protect financial stability by the authority of the Deposit Protection Agency Act B.E. 2551. Without recognized as the significant factors for efficient expeditious and orderly, liquidation process couldn’t reach to the objective of final resolution. The connecting factors for efficient will operate accordingly to reduce cost and maximize refund in order to save Deposit Protection Fund from the failed bank liquidation. The target of failed bank liquidation is not only maximizing benefit of public sector but also private sector, to achieve the best result for the bank's creditors as a whole. The thesis can indicate that the failed bank liquidation must regard to the significant factors that include studying with the system explicitly in comparative law, Good bank/Bad bank model and the concept of bridge bank as SPV to takeover and maintain banking services for the customers of a failed bank before DPA can implement a satisfactory acquisition by a third party. As the mentioned above, the problem of failed bank liquidation in the Deposit Protection Act B.E.2551 would be closed for improved to an efficient tool for depositor and financial stability protection.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สถาบันการเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย en_US
dc.subject การชำระบัญชี -- ไทย en_US
dc.subject ล้มละลาย -- ไทย en_US
dc.subject พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 en_US
dc.subject Financial institutions -- Law and legislation -- Thailand en_US
dc.subject Liquidation -- Thailand en_US
dc.subject Bankruptcy -- Thailand en_US
dc.subject Deposit Protection Agency Act B.E. 2551 en_US
dc.title ปัญหาการชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 en_US
dc.title.alternative The problems of failed bank liquidation with the Deposit Protection Agency Act B.E. 2551 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record