Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลผลิต ผลลัพธ์ และสภาพปัญหาของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการวิเคราะห์ปฏิบัติการ (Implementation Analysis) การนำนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปปฏิบัติขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 2) เพื่อศึกษาผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดำเนินการในช่วงสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาจาก 4 แหล่งใหญ่ ๆ คือ 1) จากการสัมภาษณ์ผู้ว่าราชการหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดจำนวน 4 คน 2) จากแบบสอบถามหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 68 หน่วยงานทั้งในกรุงเทพมหานคร และ 5 จังหวัดในส่วนภูมิภาคซึ่งมีโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รวมทั้งหมด 1,306 โครงการ 3) จากแบบสอบถามความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้างภายหลังสำเร็จการศึกษา/ฝึก/อบรม จำนวน 3,095 คน ข้อมูลที่ได้รับคืนทั้งหมดถูกนำไปวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS/PC+ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ จำนวน (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation-S.D) มัธยฐาน (Median) ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation -Q.D.) สัมประสิทธิ์การกระจายแบบควอไทล์ (Coefficient of Variation-Q.D.) สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบสเต็ปไวซ์ (Multiple Regression Correlation-Stepwise) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และถ้าผลการทดสอบดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผู้วิจัยจะใช้วิธีการทดสอบเพื่อหาคู่ที่แตกต่างกันโดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ในช่วงสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 การนำนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปปฏิบัติมีอยู่หลายแนวทาง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำนโยบายแบบเบ็ดเสร็จจากระดับบนสู่การปฏิบัติในระดับล่าง ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือกลุ่มคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นเป็นผู้ประสานงาน 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมของประเทศ ก) มีโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คิดเป็นร้อยละ 60.52 ของจำนวนโครงการรวมทั้งหมด ซึ่งโครงการส่วนใหญ่จะเน้นกิจกรรมในด้านการให้ความรู้และสติปัญญามากที่สุด รองลงมาเป็นกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัย การพัฒนาจิตใจ และการมีงานทำ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงประสิทธิผลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงสองปีดังกล่าวพบว่า ในภาพรวมของประเทศมีประสิทธิผลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร้อยละ 68.33 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ข) นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจโดยรวมต่อความสำเร็จของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เข้ารับการศึกษา/ฝึก/อบรมตามแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาตังบ่งชี้ความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาพบว่ามี 11 ตัวบ่งชี้จาก 18 ตัวแปร เป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่สามารถอธิบายความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของนายจ้างได้ร้อยละ 72.52 (R[square] = 0.7252, alpha = .05) และตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดเพียงตัวเดียวที่สามารถอธิบายความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาได้สูงสุดร้อยละ 40.05 คือ "ความมีระเบียบวินัยของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชา" (R[square] = 0.4005, alpha = .05) และ ค) ความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาต่อการเข้าศึกษา/ฝึก/อบรมขึ้นอยู่กับ 8 ตัวบ่งชี้จากทั้งหมด 12 ตัวแปร โดยทั้ง 8 ตัวบ่งชี้สามารถอธิบายความแปรปรวนต่อความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ร้อยละ 52.22 (R[square] = 0.5222, alpha = .05) ตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดต่อการอธิบายความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาคือ "ความเพียงพอของอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา/ฝึก/อบรม" สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 30.30 (R[square] = 0.3030, alpha =.05) 3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกรุงเทพมหานคร ก) มีโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คิดเป็นร้อยละ 44.47 ของจำนวนโครงการรวมทั้งหมด ซึ่งโครงการส่วนใหญ่เน้นกิจกรรมในด้านการให้ความรู้และสติปัญญามากที่สุด รองลงมาเป็นกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัย การพัฒนาจิตใจ การมีงานทำ และการพัฒนาฝีมือ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงประสิทธิผลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงสองปี ดังกล่าวพบว่า ในเขตกรุงเทพมหานครมีประสิทธิผลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร้อยละ 69.62 อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ข) นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจโดยรวมต่อความสำเร็จของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เข้ารับการศึกษา/ฝึก/อบรมตามแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาตัวบ่งชี้ความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาพบว่า มี 13 ตัวบ่งชี้ จาก 18 ตัวแปร เป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่สามารถอธิบายความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของนายจ้างได้ร้อยละ 99.87 (R[square] = 0.9987, alpha = .05) โดยที่ตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดเพียงตัวแปรเดียวที่สวามารถอธิบายความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาได้สูงสุดร้อยละ 47.34 คือ "ความมีคุณธรรมของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชา" (R[square] = 0.4734, alpha = .050 และ ค) ความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาต่อการเข้าศึกษา/ฝึก/อบรม ขึ้นอยู่กับ 6 ตัวบ่งชี้จากทั้งหมด 12 ตัวแปร โดยทั้ง 6 ตัวบ่งชี้สามารถอธิบายความแปรปรวนต่อความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ร้อยละ 79.42 (R[square] = 0.7942, alpha = .05) ตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดต่อการอธิบายความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาคือ "ความเพียงพอของอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา/ฝึก/อบรม" ตัวแปรนี้เพียงตัวแปรเดียวสามารถอธิบายความแปรปรวนต่อความพึงพอใจได้ร้อยละ 47.81 (R[square = 0.4781, alpha = .05) 4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในส่วนภูมิภาค ก) มีโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คิดเป็นร้อยละ 68.76 ของจำนวนโครงการรวมทั้งหมด ซึ่งโครงการส่วนใหญ่เน้นกิจกรรมในด้านการให้ความรู้และสติปัญญามากที่สุด รองลงมาเป็นกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัย การพัฒนาจิตใจ และการมีงานทำ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาถึงประสิทธิผลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงสองปีดังกล่าวพบว่า ในส่วนภูมิภาค (ต่างจังหวัด) มีประสิทธิผลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร้อยละ 67.98 อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ข) นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจโดยรวมต่อความสำเร็จของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เข้ารับการศึกษา/ฝึก/อบรมตามแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาตัวบ่งชี้ความพึงกอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาพบว่า มี 11 ตัวบ่งชี้จาก 18 ตัวแปร เป็นตัวบ่งชี้ความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของนายจ้างได้ร้อยละ 74.54 (R[square] = 0.7454, alpha = .05) สำหรับตัวบ่งชี้ "ความมีระเบียบวินัยของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชา" เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดของ 11 ตัวบ่งชี้สำคัญ โดยสามารถอธิบายความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาต่อการเข้าศึกษา/ฝึก/อบรม ขึ้นอยู่กับ 8 ตัวบ่งชี้จากทั้งหมด 12 ตัวแปร โดยทั้ง 8 ตัวบ่งชี้สามารถอธิบายความแปรปรวนต่อความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ร้อยละ 48.33 (R[square = 0.4833, alpha =.05) ตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดต่อการอธิบายความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาคือ "ความเพียงพอของอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา/ฝึก/อบรม" สามารถอธิบายความแปรปรวนความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ร้อยละ 27.03 (R[square =0.2703, alpha = .05) 5. ปัญหาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในช่วงสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พบว่า ก) ในกรุงเทพมหานครมีปัญหาสำคัญเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ 1) การมีส่วนร่วมของประชาชน 2)งบประมาณ 3) เวลาและสถานที่ 4) บุคลากร และ 5) การจัดการ ข) ในส่วนภูมิภาค (ต่างจังหวัด) ปัญหาที่สำคัญมีดังนี้ คือ 1) การจัดการ 2) งบประมาณ 3) บุคลากร 4) เวลาและสถานที่ และ 5) การมีส่วนร่วมของประชาชนตามลำดับ