DSpace Repository

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงสองปีแรก ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) : ผลผลิต ผลลัพธ์ และสภาพปัญหา : รายงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ
dc.contributor.author สุทธนู ศรีไสย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-04-29T01:16:31Z
dc.date.available 2008-04-29T01:16:31Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9743470263
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6724
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลผลิต ผลลัพธ์ และสภาพปัญหาของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการวิเคราะห์ปฏิบัติการ (Implementation Analysis) การนำนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปปฏิบัติขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 2) เพื่อศึกษาผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดำเนินการในช่วงสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาจาก 4 แหล่งใหญ่ ๆ คือ 1) จากการสัมภาษณ์ผู้ว่าราชการหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดจำนวน 4 คน 2) จากแบบสอบถามหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 68 หน่วยงานทั้งในกรุงเทพมหานคร และ 5 จังหวัดในส่วนภูมิภาคซึ่งมีโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รวมทั้งหมด 1,306 โครงการ 3) จากแบบสอบถามความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้างภายหลังสำเร็จการศึกษา/ฝึก/อบรม จำนวน 3,095 คน ข้อมูลที่ได้รับคืนทั้งหมดถูกนำไปวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS/PC+ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ จำนวน (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation-S.D) มัธยฐาน (Median) ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation -Q.D.) สัมประสิทธิ์การกระจายแบบควอไทล์ (Coefficient of Variation-Q.D.) สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบสเต็ปไวซ์ (Multiple Regression Correlation-Stepwise) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และถ้าผลการทดสอบดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผู้วิจัยจะใช้วิธีการทดสอบเพื่อหาคู่ที่แตกต่างกันโดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ในช่วงสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 การนำนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปปฏิบัติมีอยู่หลายแนวทาง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำนโยบายแบบเบ็ดเสร็จจากระดับบนสู่การปฏิบัติในระดับล่าง ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือกลุ่มคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นเป็นผู้ประสานงาน 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมของประเทศ ก) มีโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คิดเป็นร้อยละ 60.52 ของจำนวนโครงการรวมทั้งหมด ซึ่งโครงการส่วนใหญ่จะเน้นกิจกรรมในด้านการให้ความรู้และสติปัญญามากที่สุด รองลงมาเป็นกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัย การพัฒนาจิตใจ และการมีงานทำ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงประสิทธิผลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงสองปีดังกล่าวพบว่า ในภาพรวมของประเทศมีประสิทธิผลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร้อยละ 68.33 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ข) นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจโดยรวมต่อความสำเร็จของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เข้ารับการศึกษา/ฝึก/อบรมตามแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาตังบ่งชี้ความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาพบว่ามี 11 ตัวบ่งชี้จาก 18 ตัวแปร เป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่สามารถอธิบายความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของนายจ้างได้ร้อยละ 72.52 (R[square] = 0.7252, alpha = .05) และตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดเพียงตัวเดียวที่สามารถอธิบายความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาได้สูงสุดร้อยละ 40.05 คือ "ความมีระเบียบวินัยของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชา" (R[square] = 0.4005, alpha = .05) และ ค) ความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาต่อการเข้าศึกษา/ฝึก/อบรมขึ้นอยู่กับ 8 ตัวบ่งชี้จากทั้งหมด 12 ตัวแปร โดยทั้ง 8 ตัวบ่งชี้สามารถอธิบายความแปรปรวนต่อความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ร้อยละ 52.22 (R[square] = 0.5222, alpha = .05) ตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดต่อการอธิบายความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาคือ "ความเพียงพอของอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา/ฝึก/อบรม" สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 30.30 (R[square] = 0.3030, alpha =.05) 3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกรุงเทพมหานคร ก) มีโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คิดเป็นร้อยละ 44.47 ของจำนวนโครงการรวมทั้งหมด ซึ่งโครงการส่วนใหญ่เน้นกิจกรรมในด้านการให้ความรู้และสติปัญญามากที่สุด รองลงมาเป็นกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัย การพัฒนาจิตใจ การมีงานทำ และการพัฒนาฝีมือ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงประสิทธิผลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงสองปี ดังกล่าวพบว่า ในเขตกรุงเทพมหานครมีประสิทธิผลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร้อยละ 69.62 อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ข) นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจโดยรวมต่อความสำเร็จของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เข้ารับการศึกษา/ฝึก/อบรมตามแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาตัวบ่งชี้ความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาพบว่า มี 13 ตัวบ่งชี้ จาก 18 ตัวแปร เป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่สามารถอธิบายความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของนายจ้างได้ร้อยละ 99.87 (R[square] = 0.9987, alpha = .05) โดยที่ตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดเพียงตัวแปรเดียวที่สวามารถอธิบายความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาได้สูงสุดร้อยละ 47.34 คือ "ความมีคุณธรรมของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชา" (R[square] = 0.4734, alpha = .050 และ ค) ความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาต่อการเข้าศึกษา/ฝึก/อบรม ขึ้นอยู่กับ 6 ตัวบ่งชี้จากทั้งหมด 12 ตัวแปร โดยทั้ง 6 ตัวบ่งชี้สามารถอธิบายความแปรปรวนต่อความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ร้อยละ 79.42 (R[square] = 0.7942, alpha = .05) ตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดต่อการอธิบายความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาคือ "ความเพียงพอของอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา/ฝึก/อบรม" ตัวแปรนี้เพียงตัวแปรเดียวสามารถอธิบายความแปรปรวนต่อความพึงพอใจได้ร้อยละ 47.81 (R[square = 0.4781, alpha = .05) 4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในส่วนภูมิภาค ก) มีโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คิดเป็นร้อยละ 68.76 ของจำนวนโครงการรวมทั้งหมด ซึ่งโครงการส่วนใหญ่เน้นกิจกรรมในด้านการให้ความรู้และสติปัญญามากที่สุด รองลงมาเป็นกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัย การพัฒนาจิตใจ และการมีงานทำ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาถึงประสิทธิผลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงสองปีดังกล่าวพบว่า ในส่วนภูมิภาค (ต่างจังหวัด) มีประสิทธิผลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร้อยละ 67.98 อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ข) นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจโดยรวมต่อความสำเร็จของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เข้ารับการศึกษา/ฝึก/อบรมตามแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาตัวบ่งชี้ความพึงกอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาพบว่า มี 11 ตัวบ่งชี้จาก 18 ตัวแปร เป็นตัวบ่งชี้ความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของนายจ้างได้ร้อยละ 74.54 (R[square] = 0.7454, alpha = .05) สำหรับตัวบ่งชี้ "ความมีระเบียบวินัยของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชา" เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดของ 11 ตัวบ่งชี้สำคัญ โดยสามารถอธิบายความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาต่อการเข้าศึกษา/ฝึก/อบรม ขึ้นอยู่กับ 8 ตัวบ่งชี้จากทั้งหมด 12 ตัวแปร โดยทั้ง 8 ตัวบ่งชี้สามารถอธิบายความแปรปรวนต่อความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ร้อยละ 48.33 (R[square = 0.4833, alpha =.05) ตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดต่อการอธิบายความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาคือ "ความเพียงพอของอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา/ฝึก/อบรม" สามารถอธิบายความแปรปรวนความพึงพอใจของลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ร้อยละ 27.03 (R[square =0.2703, alpha = .05) 5. ปัญหาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในช่วงสองปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พบว่า ก) ในกรุงเทพมหานครมีปัญหาสำคัญเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ 1) การมีส่วนร่วมของประชาชน 2)งบประมาณ 3) เวลาและสถานที่ 4) บุคลากร และ 5) การจัดการ ข) ในส่วนภูมิภาค (ต่างจังหวัด) ปัญหาที่สำคัญมีดังนี้ คือ 1) การจัดการ 2) งบประมาณ 3) บุคลากร 4) เวลาและสถานที่ และ 5) การมีส่วนร่วมของประชาชนตามลำดับ en
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to investigate outputs, outcomes, and problems of the human resource development in the period of the first two years of the Eighth National Economic and Social Development Plan (the 8th NESDP). There was threefold: firstly, to study the process analysis of implementing the human resource development (HRD) policies in both of governmental and private sectors; secondly, to study outputs and outcomes of the HRD in the first years of the 8th NESDP; and thirdly, to study problems and suggestions of the HRD in the first years of the 8th NESDP. All data were collected from four sources as follows: 1) Interviewing 4 governors/deputy governors; 2) Departmental Questionnaire: 68 departments (that located in the Bangkok Metropolitan and five representatives of provincial areas), and all 1,306 projects; 3) Satisfactory Questionnaire for 1,019 bosses toward their employees who participated with the HRD projects; and 4) Satisfactory Questionnaire for all 3,095 employees who participated with the HRD projects. Completed data were analyzed by the SPSS/PC+ program for Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation (S.D.), Median, Quartile Deviation (Q.D.), Coefficient of Variation for S.D., Coefficient of Variation for Q.D., Multiple Regression Correlation-Stepwise, t0test, One-way Analysis of Variance and Post Hoc. By Scheffe Method. Research results were as follows: 1. In the first two years of the 8th NESDP, there were many approaches for implementing the HRD policies. Most of them as completed package were implied for practicing with the line from the top to the bottom. In this case, a provincial governor/representative or the HRD committee in the local area would be a mediator between that top and bottom lines. 2. As a whole of Thailand. A) Most of all (60.52 percent) as the HRD projects were performed in the first two years of the 8th NESDP. The HRD activities were emphasized on developing knowledge and intellectual, health and sanitary, mental health, and finding out jobs, respectively.Moreover, the efficiency of the HRD in the first two years of the 8th NESDP was at 68.33 percent, above average level when comparing with the establishing criteria. B) The total satisfaction of bosses on their employees after participating the HRD projects was at the good level. In addition, there were 11 from 18 variables as crucial indicators that could explain the variance of the boss satisfaction at 72.52 percent, and were significant at .05 level. The indicator "discipline of employee" was the best predictor (40.05 percent) on the boss satisfaction. C) The total satisfaction of employee after finishing a study/training/workshop in the HRD projects, there were 8 from 12 variables as crucial indicators that could explain the variance of the employee satisfaction at 52.22 percent, and were significant at .05 level. The indicator "adequacy of materials (hardware and software)" was the best predictor (30.30 percent) on the employee satisfaction after participating the HRD projects. 3 As a whole of Bangkok Metropolitan area. A) Most of all (44.47 percent) as the HRD projects were performed in the first two years of the 8th NEADP. The HRD activities were emphasized on developing knowledge and intellectual, health and sanitary, mental health, finding out jobs, and technical skills, respectively. Moreover, it was found that the efficiency of the HRD in the first two years of the 8th NESDP was at 69.62 percent, above average level when comparing with the establishing criteria b) The total satisfaction of bosses on their employees after participating the HRD projects was at the good level. In addition, there were 13 from 18 variables as crucial indicators that could explain the variance of the satisfaction of bosses at 99.87 percent, and were significant at .05 level. The indicator "virtue of employee" was the best predictor (47.34 percent) on the boss satisfaction. C) The total satisfaction of employee after finishing the study/training/workshop in the HRD projects, there were 6 from 12 variables as crucial indicators that could explain the variance of the employee satisfaction at 79.42 percent, and were significant at .05 level. The indicator "adequacy of materials (hardware and software)" was the best predictor (47.81 percent) on the employee satisfaction after finishing study/training/workshop in the HRD projects. 4. As a whole of Provincial area. A) Most of all (68.76 percent) as the HRD projects were performed in the first two years of the 8th NESDP. The HRD activities were emphasized on developing knowledge and intellectual, health and sanitary, mental health, and finding out jobs, respectively. Moreover, the efficiency of the HRD in the first two years of the 8th NESDP was at 67.98 percent, above average level when comparing with the establishing criteria. B) The total satisfaction of bosses on their employees after participating the HRD projects was at the good level. There were 11 from 18 variables as crucial indicators that could explain the variance of the boss satisfaction at 74.54 percent, and were significant at .05 level. In addition, the indicator "discipline of employee" was the best predictor (46.31 percent) on the boss satisfaction. C) The total satisfaction of employee after finishing the study/training/workshop in the HRD projects, there were 8 from 12 variables as crucial indicators that could explain the variance of the employee satisfaction at 48.33 percent, and were significant at .05 level. In addition, an indicator "adequacy of material )hardware and software)" was the best predictor (27.03 percent) on the employee satisfaction after finishing study/training/workshop in the HRD projects. 5. Problems from the HRD projects in the period of the first two years of the 8th NESDP: a) In the Bangkok Metropolitan area, the crucial problems were as follows: 1) participation of people in the HRD projects; 2) budgeting ; 3) timing and place for developing human resource; 4) personnel; and 5) management, respectively, and b) In the Provincial area, the crucial problems of the HRD projects were: 1) management; 2) budgeting ; 3) personnel ; 4) timing and place fro developing human resource, and 5) participation of people in the HRD projects, respectively. en
dc.description.sponsorship ทุนงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2543 en
dc.format.extent 25926093 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ -- ไทย en
dc.subject แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2540-2544) en
dc.title การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงสองปีแรก ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) : ผลผลิต ผลลัพธ์ และสภาพปัญหา : รายงานวิจัย en
dc.title.alternative Human resource development in the period of the first two years of the eighth National Economic and Social Development Plan (1997-2001) : output, putcome, and problems en
dc.type Technical Report es
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record