DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาวจีนกับชุมชนมุสลิมในจังหวัดปัตตานี : กรณีศึกษาสุสานลิ้มกอเหนี่ยว พ.ศ. 2501-2533

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยนาถ บุนนาค
dc.contributor.author นันทิยา พิมลศิริผล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-08-04T04:13:54Z
dc.date.available 2020-08-04T04:13:54Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.issn 9741305621
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67356
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาวจีนกับชุมชนชาวมุสลิมในจังหวัดปิดตานี โดยมองผ่านการพิจารณาสุสานลิ้มกอเหนี่ยวซึ่งเป็นกาพตัวแทนของอัตลักษณ์จีนที่มีต่อความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชาวจีนกับชาวมุสลิม และความสัมพันธ์ของชุมชนทั้งสองทีมีต่อกัน รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลทีมีต่อสุสานลิ้มกอเหนียวอันมีมัสยิดกรือเซะเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของชุมชนทั้งสอง ปัตตานีในอดีตเป็นเมืองท่าทางการค้าที่สำคัญของอาณาจักรลังกาสุกะ จึงทำให้มีผู้คนเข้า มาตั้งถิ่นฐานในปัตตานีเป็นจำนวนมาก ชาวจีนและชาวมุสลิมเป็นสองชุมชนที่อาศัยอยู่ในปัตตานีมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเป็นชาวจีนที่เดินทางมาในปัตตานีและได้แต่งงานกับสตรีชาวมุสลิม เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาอิสลาม และได้อาสาเจ้าเมืองสร้างมัสยิดกรือเซะประจวบกับลิ้มกอเหนี่ยวน้องสาวได้เดินทางมาตามให้กลับเมืองจีน ลิ้มโต๊ะเคี่ยมไม่ยอมกลับจึงทำให้ลิ้มกอเหนี่ยวฆ่าตัวตาย โดยนางได้สาปแช่งไม่ให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมสร้างมัสยิดได้สำเร็จ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้สร้างสุสานให้คับลิ้มกอเหนี่ยว ปรากฎต่อมาว่าสุสานลิ้มกอเหนี่ยวได้เป็นภาพตัวแทนของความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชุมชนชาวจีนกับชุมชนชาวมุสลิมในสายตาของชาวจีนมาตลอด เนื่องจากชาวจีนต้องการรักษาอัดลักษณ์จีนของตนไว้เมื่อเป็นชนกลุ่มน้อยในชุมชน จึงต้องสร้างความมั่นคงในจิตใจของตนขึ้น อย่างไรก็ดี ชาวจีนได้ปรับตัวในการอยู่ร่วมกับชาวมาเลย์มุสลิมได้ แต่เมื่อมีนโยบายของรัฐเกี่ยวกับโบราณสถานและการส่งเสริมการท่องเที่ยวมาเกี่ยวข้อง ทำให้ชาวมุสลิมไม่พอใจและก่อการประท้วงขึ้น ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงต่อความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนทั้งสองในปัตตานี en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study the relationship between the Chinese and Muslim communities in Pattani province, by regarding the Lim Kun Yew Tomb as a symbol of Chinese identity in analyzing the various aspects of the relationship between the Chinese and the Muslims, including government policy towards the Lim Kun Yew Tomb and the Kruze Mosque and its impact on that relationship. Pattani was an important port of the Langkasuka Kingdom, attracting many people to settle there. Chinese and Muslims formed two of the communities in Pattani. According to legend, Lim Tho Khiam was a Chinese who travelled to Pattani and married a Muslim woman, converting to Islam. He volunteered to build the Kruze Mosque for tire ruler. His sister Lim Kun Yew came from China to persuadehim to return home, but he refuses, causing Lim Kun Yew to commit suicide. Before dying she put a cuses on the mosque, willing that it remain unfinished. Lim Tho Khiam built a tomb for his sister, which later became a symbol of the power relationship between the Chinese and the Muslim communities, from the Chinese point of view. This was because the Chinese wished to maintain their identity as a minority group within the larger community, and needed to build up self-confidence. The Chinese were able, however, to coexist with the Malay Muslims. But when the Thai government’s policy on tourism and ancient monuments was put into practice in Pattani, it caused dissatisfaction among the Muslims, resulting in protests. The result of the government’s policy did not, however, cause any violent conflicts between the Chinese and Muslim communities in Pattani. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.214
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ชาวจีน -- ไทย -- ปัตตานี en_US
dc.subject มุสลิม -- ไทย -- ปัตตานี en_US
dc.subject สุสานลิ้มกอเนี่ยว en_US
dc.subject ปัตตานี -- ความเป็นอยู่และประเพณี en_US
dc.subject Chinese -- Thailand -- Pattani en_US
dc.subject Muslim -- Thailand -- Pattani en_US
dc.subject Lim Kun Yew Tomb en_US
dc.subject Pattani -- Manners and customs en_US
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาวจีนกับชุมชนมุสลิมในจังหวัดปัตตานี : กรณีศึกษาสุสานลิ้มกอเหนี่ยว พ.ศ. 2501-2533 en_US
dc.title.alternative The relationship between Chinese and Muslim communities in Patani Province : a case study of The Lim Kun Yew Tomb, 1958-1990 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ประวัติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Piyanart.B@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2000.214


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record