dc.contributor.advisor | มรกต เปี่ยมใจ | |
dc.contributor.author | อรอุษา วลีพิทักษ์เดช | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-08-11T07:49:34Z | |
dc.date.available | 2020-08-11T07:49:34Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.identifier.isbn | 9741419414 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67412 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าความแข็งแรงดึงยึดของ 1) ผิวเคลือบฟันกับสารยึดเรซิน 2) ผิวเคลือบฟันและเนื้อ ฟันกับสารยึดเรซิน และเปรียบเทียบการรั่วซึมของ 1) ฟันที่บูรณะด้วยชิ้นอินเลย์ 2) ฟันที่บูรณะด้วยการอุด โดยใช้สารยึดเรซินแตกต่างกัน 7 กลุ่ม คือ กลุ่มซูเปอร์บอนด์ เรซินชนิดโฟร์เมตาเอมเอมเอทีบีบีเมื่อทําการปรับสภาพผิวฟันด้วยสารละลายเฟอริกคลอไรด์ร้อยละ 1 ในกรดซิ ตริก ร้อยละ 1 เป็นเวลา 10 วินาที (กลุ่ม 1-1-10s) 30 วินาที (กลุ่ม 1-1-30s) 60 วินาที (กลุ่ม 1-1-60s) ออลบอนด์ทูร่วมกับดูโอลิงค์ซีเมนต์ (กลุ่มออลบอนด์) ซิงเกิลบอนด์ทูร่วมกับรีไลเอกซ์เออาซีซีเมนด์ (กลุ่มซิงเกิลบอนด์) และ เอคิวบอนด์พลัสร่วมกับเมททาฟิวโฟล (กลุ่มเอคิว บอนด์) วิธีทดสอบค่าแรงดึงยึด 1) ทําโดยสร้างระนาบบนเคลือบฟันด้านแก้มบนฟันกรามแท้ของมนุษย์ด้วยหัวกรอเร็วกากเพชรแล้วลุ่มชิ้น ฟันมายึดกับแท่งพีเอมเอมเอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ม.ม. ด้วยสารยึดเรซินทั้ง 7 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 ตัวอย่าง) 2) เตรียมชิ้นฟันที่ประกอบด้วย เคลือบฟันและเนื้อฟันแล้วลุ่มชิ้นฟันมายึดกับแท่งพีเอมเอมเอด้วยสารยึดเรซินทั้ง 7 กลุ่ม จากนั้นเตรียมชิ้นตัวอย่างเป็นรูปดัมเบลล์โดยมีพื้นที่ ตัดขวางของผิวรอยต่อประมาณ 2 x 3 ม.ม.² (กลุ่มละ 6 ตัวอย่าง) นําชิ้นตัวอย่างจาก 1) และ 2) แช่น้ำที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนนํามาทดสอบค่าความแข็งแรงดึงยึดด้วยเครื่องทดสอบสากล ตรวจสอบตําแหน่งของการแตกหักและชั้นเชื่อมต่อระหว่างผิวฟัน กับสารยึดเรซินด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด วิธีทดสอบการรั่วซึม ทําโดยเตรียมโพรงฟันรูปคลาสไฟฟ์โดยกําหนดตําแหน่ง ให้อยู่เหนือและใต้รอยต่อเคลือบฟันและเคลือบรากฟันอย่างละ 1 ม.ม. 1) เตรียมชิ้นอินเลย์ด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิตโดยตรงจากโพรงฟัน และ ยึดด้วยสารยึดเรซินทั้ง 7 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 ตัวอย่าง) 2) ทําการอุดโพรงฟันด้วยเรซินคอมโพสิต โดยใช้สารยึดเรซินทั้ง 7 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 ตัวอย่าง) นําฟันตัวอย่างทั้งหมดแช่ในน้ำที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นเคลือบผิวทั้งหมดด้วยยาทาเล็บยกเว้น บริเวณเรซินคอมโพสิตและระยะห่างออกไป 1 ม.ม.จากรอยต่อด้านบดเคี้ยวและด้านคอฟัน จากนั้นแช่ในสารละลายเบสิกฟุชชินร้อยละ 0.5 เป็นเวลา 24 ชม. จึงนํามาวัดการรั่วซึมภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอที่กําลังขยาย 50-200 เท่า นําค่าความแข็งแรงดึงยึดและระยะการรั่วซึม มาวิเคราะห์ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p < 0.05) ผลการทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยความแข็งแรงดึงยึดระหว่างผิวเคลือบฟันกับ สารยึดเรซินกลุ่มซูเปอร์บอนด์มีค่าสูงสุด รองลงมาคือกลุ่มออลบอนด์ และ 1-1-60s โดยกลุ่มที่กล่าวมาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ กลุ่มออลบอนด์ 1-1-60s และซิงเกิลบอนด์มีค่าความแข็งแรงดึงยึดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กลุ่มซิงเกิลบอนด์ 1-1-10s และ 1-1-30s มีค่าความแข็งแรงดึงยึดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กลุ่มเอคิวบอนด์มีค่าต่ำสุดและแตกต่างจากทุกกลุ่มอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงดึงยึดระหว่างเคลือบฟันและเนื้อฟันกับสารยึดเรซินกลุ่ม 1-1-60s มีค่าสูงสุด รองลงมาคือกลุ่ม 1-1-10s 1-1-30s ซูเปอร์บอนด์และซิงเกิลบอนด์ โดยกลุ่มที่กล่าวมาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่แตกต่างกับกลุ่มออลบอนด์ และกลุ่มเอคิวบอนด์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ พบการแตกหักในชั้นดีมิเนอรอลไรซ์เดนทีนที่หลงเหลือในกลุ่มออลบอนด์และกลุ่มซิงเกิล บอนด์ และในชั้นไฮบริดสเมียร์ในกลุ่มเอคิวบอนด์ ไม่พบการรั่วซึมในกลุ่มซูเปอร์บอนด์ 1-1-10s 1-1-30s และ 1-1-60s ผลการ เปรียบเทียบระยะรั่วซึมบริเวณรอยต่อสารยึดเรซินกับผิวเนื้อฟัน ในกลุ่มซิงเกิลบอนด์และกลุ่มออลบอนด์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ พบการรั่วซึมบริเวณรอยต่อสารยึดเรซินกับเรซินคอมโพสิตในกลุ่มออลบอนด์และกลุ่มเอคิวบอนด์โดยค่าที่ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระยะการรั่วซึมบริเวณรอยต่อเรซินและผิวเนื้อฟันของกลุ่มออลบอนด์พบว่ากลุ่มที่บูรณะด้วยการอุดมีค่า การรั่วซึมสูงกว่าการบูรณะด้วยชิ้นอินเลย์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุปผลการทดลอง การเชื่อมผิวฟันด้วยสารยึดเรซินชนิดกรดกัดรวมใน กลุ่มซูเปอร์บอนด์ กลุ่ม 1-1-10s กลุ่ม 1-1-30s และกลุ่ม1-1-60s ให้ชั้นไฮบริดที่สมบูรณ์ต่อเนื่องทําให้ไม่เกิดการรั่วซึมและให้ค่าแรงยึดที่ดี การเชื่อมเนื้อฟันกับสารยึดเรซินในกลุ่มออลบอนด์และกลุ่มซิงเกิลบอนด์ให้ชั้นเชื่อมต่อที่ไม่สมบูรณ์เหลือชั้นดีมิเนอรอลไรซ์เดนทีน จึงให้ค่าแรง ยึดที่มีความแปรปรวนสูง และเกิดการรั่วซึมในบริเวณนี้ ในขณะที่ชั้นไฮบริดสเมียร์ในกลุ่มเอคิวบอนด์แม้จะทําให้ค่าแรงดึงยึดที่น้อยกว่าแต่ สามารถป้องกันการรั่วซึมระหว่างผิวฟันกับสารยึดเรซินได้ จากการศึกษาสังเกตพบว่าค่าเฉลี่ยแรงดึงยืดที่สูงของสารยึดเรซิน ไม่ได้บอกถึง ความสามารถในการป้องกันการรั่วซึมซึ่งมีความสําคัญมากในการทํานายการคงอยู่ในระยะยาวของฟันที่บูรณะ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were to compare: the tensile bond strength (TBS) of resin-adhesive to 1) enamel 2) enamel-dentin and microleakage of 1) direct inlays 2) fillings, using different 7 resin-adhesives; Super-Bond C&B (Super-Bond). 4-META/MMA-TBB resin with 1% ferric chloride in 1% citric acid for conditioning periods of 10 s (1-1-10s). 30 s (1-1-30s) and 60 s (1-1-60s), All-Bond 2 with Duolink cement (All-Bond). Single Bond 2 with RelyX ARC (Single-Bond) and AQ Bond Plus with Metafil FLO (AQ-Bond). Materials and Methods for tensile testing. 1) buccal surfaces of human molars were ground to create horizontally flat planes on enamel using diamond burs. PMMA rods with 5 mm diameter were randomly bonded on enamel surfaces using different resin-adhesives (n = 10). 2) Enamel-dentin bonded with PMMA rods were prepared and trimmed to mini-dumbbell shaped specimens with a bonded area of 2 x 3 mm² (n=6). All bonded specimens were stored in distilled water at 37 °C for 24 h before tensile loading using a universal testing machine. The fractured surfaces and hybridized layers were examined under a scanning electron microscope. For microleakage test, Class V cavities were prepared on axial surfaces of human molars with one margin in enamel and another in cementum. All cavities were randomly restored with either 1) direct resin-composite inlays or 2) resin-composite fillings, using different resin-adhesives (n = 10). After stored in distilled water at 37°C for 24 h, specimens were coated with nail varnish, except for restorations and 1 mm away from occlusal and cervical margins, then immersed in 0.5 % basic fusin dye solution for 24 h. The distance of dye penetration was measured under stereomicroscopy at x50-200 magnifications. TBS and microleakage data were statistically analyzed at p < 0.05. Results: Means ± SD of TBS for enamel in descending order were Grs. Super-Bond, All-Bond, 1-1-60s, Single-Bond, 1-1-10s, 1-1-30s and AQ-Bond. No significant difference was found among Grs. Super-Bond, All-Bond, 1-1-60s; Grs. All-Bond, 1-1-60s, Single-Bond and Grs. 1-1-60s, Single-Bond, 1-1-10s, 1-1-30s. Group AQ-Bond had significantly lowest TBS. Means ± SD of TBS for enamel-dentin in descending order were Grs. 1-1-60s, 1-1-10s, 1-1-30s, Super-Bond, Single-Bond, All-Bond and AQ-Bond. No significant difference was found among Grs. 1-1-60s, 1-1-10s, 1-1-30s, Super-Bond, Single-Bond and Grs. Single-Bond, AllBond. AQ-Bond. Leakage-free restorations were found in Grs. Super-Bond, 1-1-10s, 1-1-30s and 1-1-60s. No significant difference in microleakage distance at cementum margin between All-Bond and Single-Bond groups was demonstrated. Significant difference in leakage at cementum margin was found between direct inlays and fillings using All-Bond resin. Leakage at resin-restoration interface was found in All-Bond and AQ-Bond groups, between which no significant difference was revealed. Conclusions: Impermeable hybridized interfaces were formed in Grs. Super-Bond, 1-1-10s, 1-1-30s and 1-1-60s therefore no microleakage and high TBS were resulted. Bonding resin into dentin of All-Bond and Single-Bond groups provided permeable interfaces with microleakage and remaining demineralized dentin with high SD of TBS. Whereas the hybridized smear in AQ-Bond group lowered the TBS, no leakage along tooth-adhesive interface was found. This suggested that high TBS data was not represented the ability of leakage prevention which is important in terms of reliably predicting the long-term success of restored teeth. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.233 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กัมและเรซิน | en_US |
dc.subject | การยึดติดทางทันตกรรม | en_US |
dc.subject | Gums and resins | en_US |
dc.subject | Dental bonding | en_US |
dc.subject | Resin Cements | en_US |
dc.subject | Dental Leakage | en_US |
dc.subject | Tensile Strength | en_US |
dc.subject | Acid Etching, Dental | en_US |
dc.subject | Dentin-Bonding Agents | en_US |
dc.title | ค่าความแข็งแรงดึงยึดและการรั่วซึมของสารยึดเรซินชนิดกรดกัดรวม | en_US |
dc.title.alternative | Tensile bond strength and microleakage of total-etched resin-adhesives | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ทันตกรรมประดิษฐ์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Morakot.T@Chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2005.233 |