Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างและธํารงเครือข่ายของสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่ง ประเทศไทย และเพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างความเข้าใจต่อบุคคลภายนอกของสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศ ไทย การวิจัยนี้ใช้หลักการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มคณะกรรมการบริหารสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่ง ประเทศไทย จํานวน 5 คน และสมาชิกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยจํานวน 20 คน ควบคู่ไปกับการศึกษาจากเอกสารต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า: (1) กลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างเครือข่ายของสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ตามระยะของการสร้างเครือข่าย ดังนี้ ระยะการก่อตัว การสื่อสารมีลักษณะแบบมีศูนย์กลางและไม่เป็นทางการ ระยะสร้างความเติบโต แบ่งเป็น 2 ด้านคือ ด้านการขยายเครือข่ายสมาชิก ซึ่งมีลักษณะการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการผ่านสื่อกิจกรรมและสื่อบุคคล และด้านการเพิ่มแหล่งทุน เป็นการสื่อสารในแนวดิ่ง ทั้งแบบเป็นทางการโดยมีลายลักษณ์อักษร และไม่เป็นทางการ ระยะการจัดตั้งสมาคม มีลักษณะการสื่อสารในแนวดิ่งจากล่างขึ้นบน ทั้งแบบเป็นทางการโดยมีลาย ลักษณ์อักษรและไม่เป็นทางการ (2) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการธํารงเครือข่ายของสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ได้แก่ การสื่อสารแบบบุคคล ต่อบุคคล การมีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกัน การมีผู้นําที่เข็มแข็ง การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ความสนิทสนมและผูกพัน กันอย่างแน่นแฟ้นของสมาชิก การใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออินเตอร์เน็ทอย่างสอด คล้องกับกลุ่มเป้าหมายการมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ความง่ายในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก การนําเสียงสะท้อนจากกลุ่มผู้เปิดรับสื่อมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของการทำงาน และสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรชายรักชายองค์แรก และองค์กรเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (3) กลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างความเข้าใจต่อบุคคลภายนอกของสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ได้แก่ การสื่อสารในการสร้างความเข้าใจต่อบุคคลภายนอกที่สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยต้องติดต่อประสานงานด้วยโดยตรง: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และการสื่อสารในการสร้างความเข้าใจต่อบุคคลภายนอกทั่วไป