Abstract:
ความเป็นมา : โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีเป็นโรงพยาบาลรัฐที่ให้การรักษาโรคทางตติยภูมิ รวมถึงโรคหอบหืดซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมากในทุกกลุ่มอายุ ผู้วิจัยในฐานะกุมารแพทย์และแพทย์หน่วยภูมิแพ้ มีความสนใจที่จะทำโครงการเพื่อหาความชุกระดับความรุนแรงของโรคหอบหืด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระคับความรุนแรงของโรคในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้นของโรงเรียนในเขตมีนบุรี คันนายาวและบางกะปี ในช่วงปี 2547-2548 วิธีการ : โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน ISAAC ซึ่งเป็นแบบสอบถามประกอบวีดีโอ ในการค้นหาผู้ที่เป็นโรคหอบหืดจากเด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่างคือเด็กนักเรียนมัธยม 1-3 ที่สุ่มโดยวิธี stratified และ simple random sampling จากโรงเรียน 15 แห่งที่อยู่ในพื้นที่ใกล้โรงพยาบาล ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2684 คนจาก7 โรงเรียน ผลการศึกษาพบว่ามีแด็กเป็นโรคหอบ 713 คนคิดเป็นความชุกของโรคได้ ร้อยละ 26.6 (95%C1 :24.9%,28.3%), ความชุกของเด็กที่มีอาการหอบหืดใน 1 ปีที่ผ่ามา ร้อยละ 20.9 ความชุกของการหอบกลางคืนร้อยละ 20.4 และความชุกของการหอบจากการออกกำลังกายร้อยละ 8.1 หลังจากนั้นทำการสุ่มเลือกตัวอย่างจากกลุ่มที่คัดได้มา 283 คนเพื่อศึกษาระดับความรุนแรงของโรคหอบหืด และใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อศึกษาระดับความรุนแรงของโรค ปัจจัย การปฏิบัติของตัวเด็กละผู้ปกครองที่เกี่วข้องกับระดับความรุนแรงของโรค จากการศึกษาพบว่าระดับความรุนแรงแยกเป็นกลุ่มอาการน้อยเป็นครั้งคราวร้อยละ 61.1 .กลุ่มอาการน้อยเป็นเรื้อรัง ร้อยละ 27.2 และกลุ่มอาการปานกลางเป็นเรื้อรัง ร้อยละ11.7 กลุ่มอาการรุนแรงไม่พบ ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการจับหืดค่อนข้างมากโดยรวม ได้แก่ การออกกำลังกาย ไข้หวัด การเปลี่ยนอากาศ ฤดู มลพิษในอากาศ ฝุ่นละออง โดยการเป็นไข้หวัดมีผลกระตุ้นให้เกิดการจับหืดสูงสุด (ร้อยละ 88) การเปลี่ยนอากาศและฤดูมีผลทำให้เกิดอัตราการจับหืดสูงสุดในกลุ่มรุนแรงปานกลางเรื้อรังและน้อยสุดในกลุ่มอาการน้อยเป็นครั้งคราว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<05) ส่วนด้านการปฏิบัติที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<05) ได้แก่ การรับรู้ว่าเด็กเป็นหอบหืด การพาเด็กไปรักษาภูมิแพ้ การใช้ยาป้องกันหอบ พฤติกรรมการกินยา และใช้ยาขยายหลอดลมของเด็กเอง การใช้ยาขยายหลอดลมเวลามีอาการ โดยรวมผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความต่อเนื่องในการรักษาในทั้งสามกลุ่ม สรุป : ผู้ปกครองควรเพิ่มความระวังการเกิดการจับหืดในเด็กที่เป็นหอบหืดโดยเฉพาะกลุ่มอาการรุนแรงปานกลางเรื้อรังในขณะที่อากาศเปลี่ยน และเปลี่ยนฤดู และให้ความสำคัญกับการติดตามรักษาและการป้องกันเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคหอบหืดในเด็ก