Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลของการสอนวิชา 418201 เทคโนโลยีการศึกษาในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่เรียนด้วยระบบคู่สัญญา และความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อกระบวนการสอน และประสบการณ์ในการเรียนด้วยระบบคู่สัญญา (2) เปรียบเทียบองค์ประกอบดานภูมิหลังและลักษณะของนิสิตที่เลือกเรียนและไม่เลือกเรียนด้วยระบบคู่สัญญา และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตต่อระบบคู่สัญญา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตครุศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 418201 เทคโนโลยีการศึกษากลุ่มที่ 2 ในภาคต้น ปีการศึกษา 2535 จำนวน 75 คน ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นนิสิตที่สมัครใจเรียนด้วยระบบคู่สัญญา จำนวน 48 คน และกลุ่มที่สองเป็นนิสิตที่สมัครใจไม่เรียนด้วยระบบคู่สัญญา จำนวน 27 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test z] ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตที่เรียนด้วยระบบคู่สัญญา ทำสัญญาระบุว่าต้องการเกระ A จำนวน 46 คน ต้องการเกรด B จำนวน 2 คน และมีนิสิต จำนวน 23 คน (ร้อยละ 47.92) ได้เกรดตามสัญญา และมีนิสิต จำนวน 25 คน (ร้อยละ 52.08) ไม่ได้เกรดตามสัญญา 2. นิสิตมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบคู่สัญญาในระดับมาก 6 เรื่อง 3 อันดับแรก คือ (1) การให้โอกาสตัดสินใจเลือกเรียนด้วยระบบคู่สัญญาหรือวิธีปกติ (mean = 4.05) (2) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเรียนด้วยระบบคู่สัญญา (mean = 4.00) และ (3) การให้เวลาตัดสินใจก่อนเซ็นสัญญา (mean = 3.79) 3. นิสิตที่เรียนด้วยระบบคู่สัญญาและไม่เรียนด้วยระบบคู่สัญญามีองค์ประกอบด้านภูมิหลังใกล้เคียงกัน ทั้งเพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสม และความสนใจ นิสิตที่เรียนด้วยระบบคู่สัญญาเป็นนิสิตวิชาเอกดนตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.50 ขณะที่นิสิตไม่เรียนด้วยระบบคู่สัญญา เป็นนิสิตวิชาเอกอังกฤษ และฝรั่งเศส มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 25.93 4. นิสิตกลุ่มที่เรียนด้วยระบบคู่สัญญามีลักษณะที่แสดงถึงความรับผิดชอบในระดับมาก รวม 26 ลักษณะ นิสิตกลุ่มที่ไม่เรียนด้วยระบบคู่สัญญา มีลักษณะที่แสดงถึงความรับผิดชอบ รวม 13 ลักษณะ จากลักษณะความรับผิดชอบ 41 ลักษณะ พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะความรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ รวม 13 ลักษณะ 5. นิสิตทั้ง 2 กลุ่ม มีแบบการเรียนแบบอเนกมัยมากที่สุด (ร้อยละ 33.33 และร้อยละ 37.04) จากลักษณะการเรียนรู้ 32 ลักษณะ พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญรวม 9 ลักษณะ 6. นิสิต จำนวน 43 คน (ร้อยละ 91.49) บอกว่าระบบคู่สัญญาดี เพราะระบบคู่สัญญาทำให้ความกระตือรือร้นสนใจในการเรียนวิชานี้มากขึ้นเพื่อทำตามสัญญาที่ให้ไว้และเป็นการบังคับตนเอง ทำให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น และนิสิต จำนวน 38 คน (ร้อยละ 80.85) บอกว่าเมื่อมีโอกาสจะเลือกเรียนด้วยระบบคู่สัญญาอีก