Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์เนื้อหาของ แบบเรียนไทยที่กระทรวงศึกษาธิการให้การยอมรับ ระหว่าง พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2516 ที่สะท้อนให้ เห็นการให้ความหมายทางการเมืองแก่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และระบอบ ประชาธิปไตย โดยใช้ทฤษฎีการตีความความหมาย (Hermeneutics) เป็นเครื่องมือในการวิจัย สมมติฐานการวิจัยมีว่า เนื้อหาของแบบเรียนไทยในช่วงระหว่างพ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2516 ให้ ความหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 และระบอบประชาธิปไตยในทางที่ เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่กลุ่มชนชั้นนำผู้มีอำนาจในการปกครองแต่ละช่วงและ จึงเปลี่ยนแปลง และผันแปรไปตามบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การวิจัย พบว่า เนื้อหาของแบบเรียนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และระบอบประชาธิปไตย มีลักษณะสอดคล้องกับแนวความคิดของผู้นำทางการเมืองที่ เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วง เพราะรัฐบาลทุกสมัยมีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุง เนื้อหาของแบบเรียน และหลักสูตรการเรียนการสอน จึงไม่มีแบบเรียนเล่มใดที่ไม่สนับสนุนกลุ่มผู้ ที่มีอำนาจทางการปกครองอยู่ในขณะนั้น เพราะผู้มีอำนาจในการปกครองต่างก็ปรารถนาที่จะใช้ แบบเรียนเป็นเครื่องมือในการกล่อมเกลาความคิดทางการเมืองของประชาชนให้มีลักษณะเป็น "พลเมืองดี" ในแบบที่สอดคล้องกับระบอบการปกครอง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้มีอำนาจ ทางการปกครองนั้น ๆ