Abstract:
การวัดเชิงโครงสร้างของส้นประสาทซูรัลจากการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาค่า ปกติสำหรับใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการวัดเชิงโครงสร้างของเส้นประสาทซูรัลในคนไทย โดย เปรียบเทียบค่าที่ได้จากการนับจำนวนเส้นใยประสาททั้งหมด และค่าที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบสามกรอบสี่เหลี่ยม ว่ามีความแม่นยำเพียงพอที่จะนำมาใช้วัดเพื่อลดระยะเวลาในการนับ และเพิ่มความรวดเร็วในการช่วยวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคที่มีอาการทางระบบ ประสาทส่วนปลาย เมื่อทำการวัดเชิงโครงสร้างของเส้นประสาทซูรัลทั้งเส้น (Total count) โดยใช้พารามิเตอร์ ดังนี้คือ จำนวน myelinated fiber ทั้งหมดในเส้นประสาทเฉลี่ยคือมี 5672.8+1753.7 เส้น และ ความหนาแน่นของ myelinated fiber เฉลี่ยเป็น 6714.2 +1560.7 ต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของ myelinated fiber จะมีการกระจายเป็น 2 ฐานนิยม (bimodal) คือฐานนิยม ต่ำกว่ามีค่า 3-4 ไมโครเมตรและฐานนิยมสูงกว่ามีค่า 8-9 ไมโครเมตร ค่าของขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางของค่าเฉลี่ยของ axon จะแปรฝันตามไปกับ myelinated fibers พบว่ามีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.21+0.48 ไมโครเมตร ส่วนค่า g-ratio จะมีค่าเฉลี่ยเท่กับ 0.48 + 0.06 และเมื่อนำวิธี สุมตัวอย่างแบบสามกรอบสี่หลี่ยม มาทำการนับและนำข้อมูลมาหาค่า ความสอดคล้อง Singe Measure Intraclass Correlation ได้ดังต่อไปนี้คือ MF เท่ากับ 0.8669 DMF เท่าากับ 0.7400, DS เท่ากับ 0.7862 Da เท่ากับ 0.7762, ความหนาของ myelin เท่ากับ 0.8800 และ g-ratio เท่ากับ 0.8671 ซึ่งโดยสรุปพบว่าวิธีสุ่มตัวอย่างแบบสามกรอบสี่เหลี่ยมมี ความแม่นยำเพียงพอที่จะใช้แทนการนับทั้งหมด ซึ่งมีพารามิเตอร์ดังต่อไปนี้คือ MF,DMF, Ds, Da, g-ratio โดยมีความสัมพันธ์ Single Measure Intraclass Correlation ที่เข้าใกล้ 1 มาก คืออยู่ในช่วง 0.7400-0.8800