Abstract:
คำนำ : ในปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำที่เป็นมาตรฐานสำหรับชนิดของยาเคมีบำบัดที่เหมาะสม สถาบัน ส่วนใหญ่ใช้ยาชนิดเดียว มีข้อมูลของประสิทธิภาพในการใช้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกันจำกัดโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อจำแนกผู้ป่วยตาม BCLC staging system จุดประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงอัตราการรอดชีวิตของการรักษาโรคมะเร็งตับด้วยวิธีฉีดยาเคมีบำบัดเข้าสู่ ก้อนมะเร็งโดยผ่านเส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบด้วยการใช้ยา 5-ฟลูโอโรยูราซิลและไมโตไมซินซีโดยแยก ผู้ป่วยตาม BCLC staging system วิธีการ : ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีฉีดยาเคมีบำบัดเข้าสู่ก้อนมะเร็งโดยผ่านเส้นเลือด แดงใหญ่บริเวณขาหนีบในรพ.จุฬาลงกรณ์ตั้งแต่เดือน ม.ค.2541 ถึง พ.ย. 2546 จำนวน 144 รายได้รับการติดตามถึงสาเหตุและวันเดือนปีที่เสียชีวิต ผลการศึกษา : อัตราการรอดชีวิตที่ 1 และ 2 ปีใน stage A จำนวน 31 รายคือ 65% และ 38% ใน Stage B จำนวน 80 รายคือ 44% และ 19% และใน stage C จำนวน 33 รายคือ 12% และ 3% ตามลำดับ (p=0.01) เมื่อพิจารณาในผู้ป่วย stage A อัตราการรอดชีวิตที่ 1 และ 2 ปีใน Child A จำนวน 24 รายคือ 78% และ 45% ใน Child B จำนวน 9 รายคือ 33% และ 22% ตามลำดับ (p=0.374) เมื่อพิจารณาในผู้ป่วย stage B อัตราการรอดชีวิตที่ 1 และ 2 ปีในผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็ง 1 ก้อนขนาดไม่เกิน 10 cm คือ 50% และ 40% และใน ผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็ง 1 ก้อนขนาดใหญ่กว่า 10 cm หรือมีก้อนมะเร็งมากกว่า 1 ก้อนคือ 40% และ 10% ตามลำดับ (p=0.01) สรุป : การรักษาโรคมะเร็งตับด้วยวิธีฉีดยาเคมีบำบัดเข้าสู่ก้อนมะเร็งโดยผ่านเส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบด้วยการใช้ยา 5-ฟลูโอโรยราซิลและไมโตไมซินซี มีอัตราการรอดชีวิตที่ 1 และ 2 ปีดีที่สุดในผู้ป่วย BCLC stage A และอาจมีประโยชน์ในการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วย BCLC stage B ที่มีก้อนมะเร็ง 1 ก้อนขนาดไม่เกิน 10 cm