DSpace Repository

การกระทำความผิดอาญาโดยวาจา : ศึกษากรณีขอบเขตความรับผิดและ สภาพบังคับของความผิดฐานหมิ่นประมาท

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระพงษ์ บุญโญภาส
dc.contributor.author เฉลิมศักดิ์ ตรีพนากร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-08-19T08:52:34Z
dc.date.available 2020-08-19T08:52:34Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743460152
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67613
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การกระทำความผิดอาญาโดยวาจาในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยง่าย ผู้กระทำความผิดอาจกระทำความผิดอีกได้ เนื่องจากสภาพบังคับทางกฎหมายสำหรับความผิดดังกล่าวมีอัตราโทษที่ไม่สูงประกอบกับศาลมักจะใช้ดุลยพินิจให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ เป็นผลให้ผู้กระทำความผิดขาดความเกรงกลัวและไม่เข็ดหลาบ เพื่อศึกษาแนวคิด หลักเกณฑ์ และขอบเขตความรับผิดของความผิดฐานหมิ่นประมาท สภาพบังคับทางกฎหมายและมาตรการที่เหมาะสมกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ตลอดจนศึกษาหาวิธีการเยียวยาแก้ไขความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายที่ถูกหมิ่นประมาท โดยให้ได้รับความเสียหายน้อยที่สุดและแก้ไขได้โดยเร็ว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้ทำการศึกษาถึงลักษณะและขอบเขตของความผิดฐานหมิ่นประมาทสภาพบังคับเกี่ยวกับการกำหนดโทษและมาตรการที่เหมาะสมในต่างประเทศกับการนำมาใช้ต่อผู้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามกฎหมายไทย ในแง่ของการบังคับใช้กฎหมายและการแก้ไขเยียวยาผู้เสียหาย ผลการวิจัยทำให้ทราบว่าการใช้โทษปรับเป็นจำนวนที่สูงสามารถยับยั้งการกระทำความผิดฐานนี้ได้ในแง่ของการข่มขู่ให้ผู้กระทำผิดเข็ดหลาบ นอกจากนี้การใช้มาตรการในมาตรา 56 ก็สามารถนำมาใช้กับผู้กระทำผิดได้โดยการให้ทำงานบริการสังคมหรือการอบรมจิตใจ และการเยียวยาความเสียหายทางแพ่งแบบ Punitive Damages ยังเป็นมาตรการหนึ่งในเชิงลงโทษผู้กระทำผิดให้เกิดความเข็ดหลาบไม่กล้ากระทำผิดได้อีกทางหนึ่ง
dc.description.abstractalternative Defamation is a criminal offense that is provided by section 326 of the penal code. According to the study, it is quite easy for an individual to be sued by this action. It appears that this individual usually be guilty by this action again because the degree of penalty is not high enough and the court frequently suspends the sentence for this kind of cases. Therefore, an offender probably has no fear for the defamation case. The study of this subject matter will cover the idea, the rule, the scope, the basic, and the measure of a penalty of the defamation offense. Furthermore, there will be a study of the remedy procedure for an injure person from a defamation action. This thesis is also focusing on the defamation offense of foreign countries legal systems. Whether their regulation will be adapted to Thai regulation or not, by emphasizing on the legal enforcement and the remedy procedure. With regard to the research, it is found that if the court charge the offender on fine punishment with a large amount of money, this way could stop the offender for the second guilty. Besides, the measure of section 56, serving for a public, is one of the strategies that can be used for the defamation case. Considering a civil remedy, the court may grant punitive damages for a defamation case that is an effective way to prevent the offender for wrong doing again.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ความผิดฐานหมิ่นประมาท
dc.subject โทษจำคุก
dc.subject โทษปรับ
dc.subject หมิ่นประมาท
dc.subject ความผิดทางอาญา
dc.title การกระทำความผิดอาญาโดยวาจา : ศึกษากรณีขอบเขตความรับผิดและ สภาพบังคับของความผิดฐานหมิ่นประมาท
dc.title.alternative Wrong doing by words : a study of scope of liability and enforcement of defamation offense
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record