DSpace Repository

ความผิดอาญาเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย : ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของฐานความผิด ตั้งแต่กฎหมายตราสามดวงจนถึงกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธงทอง จันทรางศุ
dc.contributor.author เจนจรัญ รักชูชื่น
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-08-19T09:30:23Z
dc.date.available 2020-08-19T09:30:23Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743347461
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67620
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract ความผิดอาญาเกี่ยวกับชีวิตร่างกายเป็นความผิดที่มีปรากฎอยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยจะพบว่าบทบัญญัติของความผิดชนิดนี้จะปรากฎอยู่ในพระไอยการและกฎหมายต่างๆหลายฉบับด้วยกัน กฎหมายที่สำคัญเหล่านั้น คือ กฎหมายตราสามดวง ซึ่งต่อมาเมื่อมีการบัญญัติกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายตราสามดวงแล้ว ก็ได้ทำให้บทบัญญัติของความผิดอาญาเกี่ยวกับชีวิตร่างกายที่มีอยู่เดิมนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้ก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง กลับแต่จะมีการประสมประสานหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่มีอยู่เดิมให้เข้ากันกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่รับเข้ามาใหม่จากต่างประเทศ โดยบทบัญญัติของความผิดอาญาเกี่ยวกับชีวิตร่างกายตามที่ปรากฎในกฎหมายตราสามดวงนั้น จะพิจารณาความผิดจากผลของการกระทำเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีเฉพาะบางความผิดเท่านั้นที่พิจารณาความผิดจากองค์ประกอบทางจิตใจด้วย และบทบัญญัติจะมีลักษณะที่เป็นข้อเท็จจริงส่วนกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 นั้น นอกจากจะพิจารณาความผิดจากผลของการกระทำแล้วยังนำองค์ประกอบทางจิตใจของผู้กระทำผิดมาพิจารณาประกอบด้วย โดยนำมาบัญญัติไว้เป็นบททั่วไป นอกจากนี้แล้ว บทบัญญัติของกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 จะมีลักษณะที่เป็นองค์ประกอบของความผิดมากกว่าที่จะเป็นข้อเท็จจริง
dc.description.abstractalternative Criminal offences against life and limb is an offence that arises in Thai society over a long time. As we know, this offence was put in a number of legislation for example, in THE CODE OF THREE GREAT SEALS. Subsequently, the penal code of R.S.127 was enacted to replace THE CODE OF THREE GREAT SEALS and thereby changed the criminal law on life and limb. According to the using of this penal code, it had some influence to a criminal offence against life and limb; nonetheless, the penal code R.S. 127 did not totally change the view of the old provision about this offence. On the contrary penal code R.S. 127 combined the prior legal principle with the new legal principle adopted from abroad. The provision on criminal offences against life and limb as appeared in THECODE OF THREE GREAT SEALS considered the crime mainly out of the action. There were only a few offenses that the code also considered the state of mind of an offender. Therefore, the provision would be composed of the fact mostly. On the other hand, the penal code R.S. 127 provided that, in the trial process, the court had to consider not only the outcome of the action, but the court had to consider the state of mind of an offender as well. This was carried out through the application of the general part of the law. In addition, the provision of the penal code R.S. 127 is tended to consider the elements of crime rather than to go through the details of fact.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ความผิดทางอาญา
dc.subject กฎหมายตราสามดวง
dc.subject กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127
dc.subject ชีวิต
dc.subject ร่างกาย
dc.title ความผิดอาญาเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย : ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของฐานความผิด ตั้งแต่กฎหมายตราสามดวงจนถึงกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127
dc.title.alternative Offences against life and limb : a comparative study of the criminal law from the period of the Code of Three Great Seals to the period of the Penal Code R.S. 127
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record