DSpace Repository

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สำหรับผู้ปกครองที่กระทำทารุณกรรมเด็ก

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมราวดี อังค์สุวรรณ
dc.contributor.advisor สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์
dc.contributor.author จักรกริสน์ จันทร์แสง
dc.date.accessioned 2020-08-20T03:09:52Z
dc.date.available 2020-08-20T03:09:52Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9745326437
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67623
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เรื่องกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สำหรับผู้ปกครองที่กระทำทารุณกรรมเด็กทำการศึกษาถึงรูปแบบของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่เหมาะสมกับกรณีผู้ปกครองกระทำทารุณกรรมเด็ก พบว่า ผู้ปกครองที่กระทำทารุณกรรมมีสาเหตุจากการขาดทักษะในการเลี้ยงดูเด็ก และมีสาเหตุจากปัญหาสุขภาพจิตของผู้ปกครองรวมถึงการขาดความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง อันเป็นผลมาจากการที่ผู้ปกครองกลุ่มนี้มีประวัติการทารุณกรรมมาก่อนในวัยเด็ก อย่างไรก็ตามการทารุณกรรมเด็กเป็นการกระทำต่อเด็กที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นนอกจากการรับโทษทางอาญาแล้วผู้ปกครองที่ทารุณกรรมเด็กจำเป็นต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟูพฤติกรรมเพื่อให้สามารถกลับมาอาศัยอยู่กับเด็กหรืออยู่ในสังคมโดยไม่กระทำผิดอีก กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในปัจจุบันยังเน้นการนำตัวผู้ปกครองที่กระทำทารุณกรรมเด็กไปรับโทษซึ่งพบว่าเมื่อมีการลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิด แม้จะสามารถแยกตัวผู้กระทำไปคุมขังก็ เป็นเพียงเงื่อนไขชั่วคราว หากพ้นโทษบุคคลเหล่านี้ก็ยังอาจกลับไปอยู่อาศัยร่วมกับครอบครัวได้อีกเพราะกฎทมายไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่เด็กกับผู้กระทำยังมีความผูกพันทางสายโลหิต ดังนั้นการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ร่วมกับมาตรการทางอาญาและการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก จะทำให้เกิดการกำหนดมาตรการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำเพื่อปรับเปลี่ยน หรือควบคุมพฤติกรรมของผู้กระทำ โดยนำรูปแบบของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เช่น การประชุมกลุ่มครอบครัวมาใช้ในขันตอนต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อให้เกิดทางเลือกในการ ปฏิบัติต่อผู้ปกครองที่สอดคล้องกับสาเหตุที่กระทำทารุณกรรมเด็กมากกว่าโทษทางอาญา อันเป็นผลในการลดความเสี่ยงในการกระทำทารุณกรรมเด็กในอนาคตเมื่อกลับไปอาศัยร่วมกับเด็กอีกครั้ง และเป็นการสร้างหลักประกันความปลอดภัยของเด็กอย่างแท้จริง
dc.description.abstractalternative This thesis; Restorative Justice for Abusive Guardian will study and find out the appropriate restorative justice for abusive guardian. From the research, most guardians who abuse their children lack of skills to bring their children up, and have some mental health problem caused the inability of self control and can not manage his/her emotion, that is the result of having abusive experiences in their childhood. According to the law, child abuse is illegal, but after getting penalty, the abusive guardians need to heal before return to their family and do not abuse their children again. At present criminal justice still focus on penalizing the abuser. While the law can remove the abuser's guardianship but in reality cannot remove fatherhood or motherhood from them. After have been released from prison, they usually go back home and stay with the family Therefore, the application of restorative justice integrated with child protection law can make the safety measures to control his/her behavior .The pattern of family group conference can be one option for rehabilitation of the abusers which will be the right way to correct the mistake he/she had committed and be more appropriate option for the whole family and can guarantee that he/she will not repeat committing crime against the child victim again.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การทารุณเด็ก en_US
dc.subject ผู้ปกครองกับเด็ก en_US
dc.subject กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ en_US
dc.subject กระบวนการยุติธรรมทางอาญา en_US
dc.subject Child abuse en_US
dc.subject Parent and child en_US
dc.subject Restorative justice en_US
dc.subject Criminal justice, Administration of en_US
dc.title กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สำหรับผู้ปกครองที่กระทำทารุณกรรมเด็ก en_US
dc.title.alternative Restorative justice for abusive guardian en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record