Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและรูปแบบของการรำมอญ 12 เพลง ตำบลเกาะเกรัด จังหวัดนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2542-2543 โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารการ สัมภาษณ์ตลอดจนการฝึกหัดของผู้วิจัยกับผู้เชี่ยวซาญในตำบลเกาะเกร็ด ผลการวิจัยสรุปได้ว่ารำมอญ 12 เพลง ตำบลเกาะเกร็ด เป็นการรำของชนเรื้อสายมอญ ซึ่งอพยพมาจากมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนกงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นิยมรำในพิธีกรรมประเพณี เพื่อบูชาบรรพบุรุษ ในการรำไม่จำกัดจำนวนและอายุของผู้รำ การใช้โครงสร้างท่ารำพบว่ามีการใช้ศีรษะ ลำตัว มือ และแขน และการใช้เท้า การใช้ศีรษะมี 3 แบบคือ เอียงขวา เอียงช้าย และหน้าตรง การใช้ลำตัวมี 2 แบบ คือ ลำตัวตรง ลำตัวโน้มเอนข้างเดียว การใช้มือม 4 แบบ คือ มือนบ มือจีบแบบไทย มือตั้งวงแบโดยใช้นิ้ว การตั้งวงมี 5 แบบ คือ วงกลาง วงหน้า วงล่าง วงพิเศษ และวงบัวบาน การใช้เท้ามี 6 แบบ คือ ก้าวเท้า กระทุ้งเท้า ตบเท้า และเท้า ยํ่าเท้า และเขยิบเท้า รูปแบนรเองการรำจะรำท่าเดียวประจำแต่ละเพลงมีชื่อท่ารำประจำเพลงโดยไม่มีการ ขับ ร้องใช้วงปีพาทย์มอญบรรเลงทั้ง 12 เพลง นิยมรำเป็นแกวหน้ากระดานกระจายเต็มเวที ก่อนเริ่ม รำนั่งกราบและเมื่อรำจบเพลง มอญรำทุกคนนั่งกราบอีกครั้ง เพื่อเป็นการคารวะ การเคลื่อนที่ของท่ารำมอญอยู่ในรัศมี 50-75 เซนติเมดร การแต่งกายมอญรำแต่งกายชุดประจำชาติมอญ ใช้สีสไบตามโอกาลของงาน ผู้แสดงจำนวน 4-12 คนขขึ้นไป จัดแสดงในตอนบ่าย หรีอตอนคํ่า ใช้เวลาในการรำไม่เกิน 1 ชั่วโมง สถานที่สำหรับรำเป็นลานกว้างหน้าบริเวณที่จัดงาน การรำมอญ 12 เพลง ตำบลเกาะเกร็ด เป็นนาฏยศิลป์ที่ชาวมอญสืบทอดมาและมี พัฒนาการเป็นของตนเอง จึงควรศึกษา รักษา และลืบทอดให้ยั่งยืนสืบไป