DSpace Repository

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนกพร จิตปัญญา
dc.contributor.author ฐิติมา ลำยอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-08-21T09:21:24Z
dc.date.available 2020-08-21T09:21:24Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67672
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en_US
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ระดับอัลบูมิน ร้อยละของเม็ดเลือดแดงในปริมาตรเลือดทั้งหมด ระดับออกซิเจนในเลือด ความปวด คุณภาพการนอนหลับกับภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักจำนวน 100 คน ที่ได้รับการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จากโรงพยาบาลศูนย์ ภาคใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการเจ็บป่วย แบบประเมินอาการสับสนเฉียบพลัน แบบประเมินความปวด และแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมิน โดยแบบประเมินอาการสับสนเฉียบพลันได้ค่า inter-rater reliability เท่ากับ .80 และแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับได้ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ point biserial ผลการวิจัยพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก 100 คน มีภาวะสับสนเฉียบพลันจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 20 โดยวันที่เกิดอาการ (onset) คือ 1-3 วันแรกของการอยู่หอผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยมีระยะเวลาการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันเฉลี่ย 2 วัน ( x̅ = 2, SD = 1.38 ) จำนวนวันที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันสูงสุดคือ 5 วัน จำนวนวันที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันต่ำสุดคือ 1 วัน 2.ร้อยละของเม็ดเลือดแดงในปริมาตรเลือดทั้งหมดมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะสับสนเฉียบพลันของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rb = -.420 ; p< .01 ) 3.ระดับออกซิเจนในเลือดมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะสับสนเฉียบพลันของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rb = -.321; p< .01 ) 4.คุณภาพการนอนหลับมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสับสนเฉียบพลันของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rb = .442 ; p< .01 ) 5.ส่วนระดับอัลบูมินและความปวดไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสับสนเฉียบพลันของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก en_US
dc.description.abstractalternative This study is a descriptive research. The purpose of the study was to examine acute confusion state in mechanically ventilated patients, and the relationships among albumin, heamatocrit, oxygen saturation, pain , quality of sleep, and acute confusion state in mechanically ventilated patients admitted in intensive care units. Study samples consist of 100 mechanically ventilated patients admitted in intensive care units selected by a purposive sampling from the hospitals in the south of Thailand. The instruments included a demographic data and illness form, the Confusion Assessment Method for ICU: CAM-ICU (2010), a pain scale, and a quality of sleep questionnaires adapted from Pattareiya Kaewphang (2004). Content validity of the instruments were reviewed by a panel of experts. Internal consistency reliability of CAM-ICU determined by inter-rater reliability was .80 , and a quality of sleep questionnaires determined by Cronbach’s alpha was .87. Frequency, percentage , mean, standard deviation ,point biserial correlation coeffecient were used for statistical analysis. Results of the study showed that : 1.Twenty percents of the samples had acute confusion state whose the onset of acute confusion state was 1-3 day after being admitted in intensive care unit; average duration time 2 days ( x̅ = 2, SD = 1.38 ); maximum day: 5 days and minimum day : 1 day. 2.There were negatively statistical correlation between haematocrit and acute confusion state in mechanically ventilated patients admitted in intensive care units (rb = -.420; p< .01) 3.There were negatively statistical correlation between oxygen saturation and acute confusion state in mechanically ventilated patients admitted in intensive care units (rb = -.321; p< .01) 4.There were positively statistical correlation between quality of sleep and acute confusion state in mechanically ventilated patients admitted in intensive care units (rb =.408; p< .01) 5.There were no statistical correlation between albumin , pain and acute confusion state in mechanically ventilated patients admitted in intensive care units. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เครื่องช่วยหายใจ en_US
dc.subject ผู้ป่วยหนัก -- การดูแล en_US
dc.title ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก en_US
dc.title.alternative Selected factors related to acute confusion states in mechanically ventilated patients admitted to intensive care units en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.other Chanokporn.J@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record