Abstract:
น้ำหนักแห้งในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดเป็นเป้าหมายในการขจัดน้ำส่วนเกินของผู้ป่วย ในการประเมินน้ำหนักแห้งอาศัยอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยระหว่างฟอกเลือดเป็นสำคัญ ซึ่งอาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการประเมินและส่งผลต่อผู้ป่วยได้ เครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะปริมาณน้ำนอกเซลล์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำหรับการขจัดน้ำด้วยเครื่องไตเทียม ทำให้สามารถประเมินน้ำหนักแห้งด้วยเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายได้การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบน้ำหนักแห้งที่ได้จากการประเมินด้วยเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกาย การประเมินน้ำหนักแห้งวิธีเดิม และการประเมินน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก ทำการศึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 19 ราย ที่ได้รับการฟอกเลือดนานอย่างน้อย 3 เดือน แบ่งเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือด 7 ราย และไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือด 12 ราย โดยเมื่อเริ่มต้นการศึกษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่าทางไฟฟ้าจากเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายทุก 15 นาทีตลอดการฟอกเลือดครั้งนั้น และทำการลดน้ำหนักแห้งของผู้ป่วยลงสำหรับการฟอกเลือดครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการฟอกเลือดครั้งก่อนหน้าเพื่อประเมินน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก ผลการศึกษาพบว่า ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือด น้ำหนักแห้งเดิม (53.2±12.0 กิโลกรัม) จะมีค่าตํ่ากว่าน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก (53.6±11.9 กิโลกรัม p=0.004) และน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก (53.6±11.9 กิโลกรัม) มีค่าตํ่ากว่าน้ำหนักแห้งจากเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกาย (54.0±12.0 กิโลกรัม p=0.006) ในผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือด น้ำหนักแห้งเดิม (53.817.9 กิโลกรัม) สูงกว่าน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก (52.9±8.0 กิโลกรัม P<0.001 ) และน้ำหนักแห้งจากเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกาย (53.2±8.0 กิโลกรัม) มีค่าสูงกว่าน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก(52.9±8.0 กิโลกรัม p=0.003) เมื่อกำหนดน้ำหนักแห้งตามเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายแล้วพบว่า ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยในกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนหายไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความดันโลหิต ณ ที่พักอาศัย (84.2 มิลลิเมตรปรอท และ 83.8 มิลลิเมตรปรอท p=0.86) และจำนวนยาควบคุมระดับความดันโลหิต (1.4ชนิด และ 1.3 ชนิด p=0.35) และในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ระดับความดัน โลหิต ณ ที่พักอาศัย (86 มิลลิเมตรปรอท และ 101 มิลลิเมตรปรอท P<0.001) และจำนวนยาควบคุมความดันโลหิต (2.6 ชนิด และ 3.5 ชนิด P=0.002)ที่ต้อง'ไห้ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการกำหนดน้ำหนักแห้งเดิม สรุปสามารถนำเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายมาประเมินน้ำหนักแห้งในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รับการฟอกเลือดได้อย่างแม่นยำ และสามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากการขจัดน้ำระหว่างการฟอกเลือดได้