dc.contributor.advisor |
สมชาย เอี่ยมอ่อง |
|
dc.contributor.author |
กมลรัชฎ์ จงธนากร |
|
dc.date.accessioned |
2020-08-21T09:43:13Z |
|
dc.date.available |
2020-08-21T09:43:13Z |
|
dc.date.issued |
2548 |
|
dc.identifier.isbn |
9745324973 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67673 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
en_US |
dc.description.abstract |
น้ำหนักแห้งในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดเป็นเป้าหมายในการขจัดน้ำส่วนเกินของผู้ป่วย ในการประเมินน้ำหนักแห้งอาศัยอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยระหว่างฟอกเลือดเป็นสำคัญ ซึ่งอาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการประเมินและส่งผลต่อผู้ป่วยได้ เครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะปริมาณน้ำนอกเซลล์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำหรับการขจัดน้ำด้วยเครื่องไตเทียม ทำให้สามารถประเมินน้ำหนักแห้งด้วยเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายได้การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบน้ำหนักแห้งที่ได้จากการประเมินด้วยเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกาย การประเมินน้ำหนักแห้งวิธีเดิม และการประเมินน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก ทำการศึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 19 ราย ที่ได้รับการฟอกเลือดนานอย่างน้อย 3 เดือน แบ่งเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือด 7 ราย และไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือด 12 ราย โดยเมื่อเริ่มต้นการศึกษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่าทางไฟฟ้าจากเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายทุก 15 นาทีตลอดการฟอกเลือดครั้งนั้น และทำการลดน้ำหนักแห้งของผู้ป่วยลงสำหรับการฟอกเลือดครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการฟอกเลือดครั้งก่อนหน้าเพื่อประเมินน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก ผลการศึกษาพบว่า ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือด น้ำหนักแห้งเดิม (53.2±12.0 กิโลกรัม) จะมีค่าตํ่ากว่าน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก (53.6±11.9 กิโลกรัม p=0.004) และน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก (53.6±11.9 กิโลกรัม) มีค่าตํ่ากว่าน้ำหนักแห้งจากเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกาย (54.0±12.0 กิโลกรัม p=0.006) ในผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือด น้ำหนักแห้งเดิม (53.817.9 กิโลกรัม) สูงกว่าน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก (52.9±8.0 กิโลกรัม P<0.001 ) และน้ำหนักแห้งจากเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกาย (53.2±8.0 กิโลกรัม) มีค่าสูงกว่าน้ำหนักแห้งจากอาการทางคลินิก(52.9±8.0 กิโลกรัม p=0.003) เมื่อกำหนดน้ำหนักแห้งตามเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายแล้วพบว่า ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยในกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนหายไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความดันโลหิต ณ ที่พักอาศัย (84.2 มิลลิเมตรปรอท และ 83.8 มิลลิเมตรปรอท p=0.86) และจำนวนยาควบคุมระดับความดันโลหิต (1.4ชนิด และ 1.3 ชนิด p=0.35) และในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ระดับความดัน โลหิต ณ ที่พักอาศัย (86 มิลลิเมตรปรอท และ 101 มิลลิเมตรปรอท P<0.001) และจำนวนยาควบคุมความดันโลหิต (2.6 ชนิด และ 3.5 ชนิด P=0.002)ที่ต้อง'ไห้ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการกำหนดน้ำหนักแห้งเดิม สรุปสามารถนำเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายมาประเมินน้ำหนักแห้งในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รับการฟอกเลือดได้อย่างแม่นยำ และสามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากการขจัดน้ำระหว่างการฟอกเลือดได้ |
|
dc.description.abstractalternative |
Background: Prescription of dry weight in hemodialysis patients is a key factor in managing water balance. In general practice, assessment of dry weight is based on clinical assessment, the accuracy of which is usually inconsistent. Bioelectricalimpedance (BIA) is one of the most promising tools for assessment extracellular fluid volume (ECW). Measurement of the changes in electrical properties during hemodialysis session, defined as resistance(R) and impedance(Z), reflexed the changes in ECW in hemodialysis patients and could be use in assessment the dry weight Methods: Intradialytic changes of electrical properties were recorded in 19 hemodialysis patients who were divided into 2 group, 1) who had uncomplicated hemodialysis patients 2) complicated hemodialysis patients who had intradialytic symptoms, including hypotension or/and cramp, occurring during prior hemodialysis session. IN the first hemodialysis session of the study the previous dry weight (PDW) was prescribed and BIA was repeatedly measured during hemodialysis. The dry weight of each patients was reduced by 0.3-0.5 kilograms per session, until achieving clinical dry weight (CDW), definded as the body weight at which the patients had intradialytic symptoms. The bioelectrical impedance dry weight (BIADW) could be drawn from a time point of which no further volume was removed from the ECW despite ongoing ultrafiltration that the changes of electrical properties were < 1%. Results: In uncomplicated group, CDW was significantly higher than PDW (53.6±11.9 Vs 53.2±12.0 kg, p=0.004) but was significant lower than BIADW (54.0±12.0 kg, p=0.006). By using BIADW as a target dry weight, the intradialytic symptom were totally disappeared wiyh out significant change in home-monitored blood pressure (HBP) and number of antihypertensive agents. In uncomplicated group, CDW was significantly less than PDW (52.9±8.0 Vs 53.8±7.9 kg, P<0.0 0 1) and was also lower than BIADW (53.2±8.0 kg, P=0.003). The values of HBP was decreased (101±7 Vs86±15 mmHg, p<0.001) and the number of antihypertensive drugs were reduced (3.6±1.2 Vs 2.7±1.4 type, p=0.002) Conclusion: Intradialytic assessment of body electrical properties by BIA can be effectively used as a tool to accurately determine the dry weight of both complicated and uncomplicated HD patients. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1928 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย -- น้ำหนัก |
en_US |
dc.subject |
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม |
en_US |
dc.subject |
Chronic renal failure -- Patients -- Weight |
en_US |
dc.subject |
Hemodialysis |
en_US |
dc.title |
การหาน้ำหนักแห้งในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขณะที่ทำการฟอกเลือดโดยเครื่องวิเคราะห์ส่วนประกอบร่างกาย |
en_US |
dc.title.alternative |
Adjustment of dry weight in chronic hemodialysis patients using intradialytic single frequency bioelectrical impedance |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Somchai.E@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2005.1928 |
|