Abstract:
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ประการที่หนึ่งเพื่อศึกษาถึงสถานภาพสารสนเทศที่มีหัวข้อเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สร้างสรรค์และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประการที่สองเพื่อศึกษาถึงศักยภาพของ ภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดยเน้นกรณีของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และประการที่ สามเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ส าหรับประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงเอกสาร การ วิเคราะห์นโยบายและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลส าคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การทบทวนแนวคิดและการวิจัยในเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์สะท้อนถึงมิติทางแนวคิดที่ส าคัญ ในสองสาขาวิชาได้แก่มิติสาขาด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านสื่อและวัฒนธรรมศึกษา มุมมองสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์มองว่า สถาบันเศรษฐกิจ ท าหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนเบื้องต้นและเป็นหน่วยงานกลางในการผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจในรูปแบบ ใหม่ มุมมองทางเศรษฐศาสตร์มุ่งเน้นเศรษฐกิจมหภาคและให้ความส าคัญกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้าง งาน การสร้างผลก าไรและความมั่งคั่งระหว่างประเทศ ซึ่งเน้นการส่งออกสินค้าทางวัฒนธรรม และมองว่า วัฒนธรรมเป็น เพียงสินค้าในการบริโภคประเภทหนึ่งเท่านั้น ในอีกทางหนึ่งมุมมองทางด้านสื่อและวัฒนธรรมให้ความส าคัญกับผู้ผลิตทาง วัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนความหมายในวัฒนธรรม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและมีบทบาทหลักในการสร้างเศรษฐกิจใหม่ เครือข่ายการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม และการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะและธ ารงรักษาไว้ซึ่ง วัฒนธรรม เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เนื่องจากวัฒนธรรมมีความส าคัญมากกว่าการเป็นเพียงสินค้า ในการบริโภค ทั้งนี้ในด้านศักยภาพของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย ผู้วิจัยได้พัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อศึกษาตัวชี้วัดของศักยภาพ ด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความสร้างสรรค์ส าหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย พบว่ามีศักยภาพในระดับค่อนข้างสูง จุดแข็ง ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยประกอบด้วยแรงงานที่สร้างสรรค์มีทักษะและมีจิตใจในด้านการบริการเป็นอย่างดี ส าหรับ จุดอ่อนของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยอยู่ที่โครงสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งในด้านเทคโนโลยีและสังคม ซึ่งเป็นข้อจ ากัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่ยืดหยุ่นของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ที่ยังคงปรากฏถึงการเซ็นเซอร์และการควบคุม เสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเห็นได้จากการขาดแคลนในด้านการวิจัยและพัฒนาในด้านนี้ การศึกษาครั้งนี้พัฒนา ข้อเสนอแนะให้มีการจัดตั้งองค์การอิสระมหาชนเพื่อท าหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ในส่วนของภาคส่วนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยโดยให้ครอบคลุมถึงห่วงโซ่มูลค่าการผลิตของอุตสาหกรรมตั้งแต่ ช่องทางการผลิต การเผยแพร่และการบริโภคไทย องค์การใหม่นื้จะท าหน้าที่บูรณาการระหว่างหน่วยงานภาคสาธารณะและ ภาครัฐเพื่อสร้างศักยภาพในการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์