DSpace Repository

ผลของพฤติกรรมบำบัดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก แผนกผู้ป่วยนอก

Show simple item record

dc.contributor.advisor จินตนา ยูนิพันธุ์
dc.contributor.author อัญชรส ทองเพ็ชร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-08-26T06:50:22Z
dc.date.available 2020-08-26T06:50:22Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67714
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en_US
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก ก่อนและหลังได้รับพฤติกรรมบำบัด 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก ระหว่างกลุ่มได้รับพฤติกรรมบำบัดกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือเด็กออทิสติก อายุ 6-12 ปีและผู้แลหลัก ที่มารับบริการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก สถาบันราชานุกูล ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คู่ ได้รับการจับคู่ (matched pair) และการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง แบ่งกลุ่มทดลอง 20 คนและกลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมพฤติกรรมบำบัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) คู่มือพฤติกรรมบำบัดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กออทิสติกสำหรับพยาบาล 2) คู่มือการดูแลเด็กออทิสติกสำหรับผู้ดูแลหลัก 3) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กออทิสติก 4) แบบวัดความสามารถการปฏิบัติพฤติกรรมบำบัดในเด็กออทิสติกที่บ้านของผู้ดูแลหลัก 5) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และได้ค่าความสอดคล้องจากการสังเกตแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กออทิสติกเท่ากับ .80, .85, .86, .90 และ .95 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงของแบบวัดความสามารถการปฏิบัติพฤติกรรมบำบัดในเด็กออทิสติกที่บ้านของผู้ดูแลหลัก เท่ากับ 0.71 ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติบรรยาย และ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกหลังการใช้พฤติกรรมบำบัดต่ำกว่าก่อนได้รับพฤติกรรมบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก หลังการทดลองในกลุ่มที่ได้รับพฤติกรรมบำบัดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this quasi-experimental research using the pretest-posttest design were: 1) to compare aggressive behavior of children with autism before and after using the behavior therapy, and 2) to compare aggressive behavior of children with autism using the behavior therapy and those who received regular caring activities. Forty children with autism receiving services in outpatient department Rajanukul Institute, who met the inclusion criteria, were matched pair and then randomly assigned to experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received using the behavior therapy program for 4 weeks. The control group received regular caring activities. Research instruments were: 1) behavior therapy in children with autism manual for nurse 2) manual for caregivers on behavior therapy 3) aggressive behavior assessment scale 4) capability of behavior therapy measurement for caregiver 5) personal data questionnaire. All instruments were content validated by a panel of 5 professional experts. The reliability of aggressive behavior assessment scale were .80, .85, .86, .90 and .95 respectively, and the capability of behavior therapy measurement for caregivers was 0.71. The t-test was used in data analysis. Major findings were as follows: 1. The functioning of aggressive behavior of children with autism after using the behavior therapy was significantly lower than those before, at the .05 level. 2. The functioning of aggressive behavior of children with autism who received behavior therapy was significantly lower than those who received regular caring activities, at the .05 level. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เด็กออทิสติก en_US
dc.subject ความก้าวร้าวในเด็ก en_US
dc.subject พฤติกรรมบำบัด en_US
dc.subject Autistic children en_US
dc.subject Aggressiveness in children en_US
dc.subject Behavior therapy en_US
dc.title ผลของพฤติกรรมบำบัดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก แผนกผู้ป่วยนอก en_US
dc.title.alternative The effect of behavior therapy on aggressive behaviors of autistic children, out patient department en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ่่Jintana.Y@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record