DSpace Repository

ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
dc.contributor.author เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์
dc.date.accessioned 2020-09-09T02:16:30Z
dc.date.available 2020-09-09T02:16:30Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9745320307
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67837
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มและเปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติโดยอาจารย์ประจำชั้นทั้งก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชันมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีปัญหาสุขภาพจิตจำนวน 60 คน และสุ่มเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชุด คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบแบบวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาของนักเรียนเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาของ จารุวรรณ จินดามงคล (2540) แบบวัดนี้ ได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือแล้ว ค่าความเที่ยงของแบบวัด เท่ากับ .90 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มทดลองภายหลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มสูงกว่าก่อนการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2. ความสามารถในการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มทดลองภายหลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purposes of this true experimental research were to study and compare coping ability of high school students before and after using group counseling plan. Research sample consisted of 60 mental health problem high school students. Samples were random assigned to experimental and control groups with 30 high school students each. Two instruments were group counseling plan that developed by researcher and coping ability test applied from coping ability tested of Jaruwan Jindamongkol (1998). These instruments were tested for validity and reliability. The reliability of coping ability test was .90. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation and t-test. Major results of study were as follow: 1. Coping ability of high school students in experimental group after using group counseling plan was significantly higher than before using group counseling plan, at the .05 level. 2. Coping ability of high school students in experimental group was significantly higher than control group, at the .05 level.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม en_US
dc.subject การแก้ปัญหา en_US
dc.subject Group counseling en_US
dc.subject Problem solving en_US
dc.subject High school students -- Thailand en_US
dc.title ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย en_US
dc.title.alternative The effect of group counseling on coping ability of high school students en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Oraphun.Lu@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record