Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างแผนที่ภูมิทัศน์เชิงประวัติศาสตร์โดยวิธี การซ้อนทับข้อมูลจากเอกสารบันทึกการเดินทางในอีสานของเอเจียนแอมอนิเยกับแผนที่ในช่วงเวลาต่าง ๆ และเพื่อศึกษาแนวทางในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ในด้านการเปลี่ยนแปลงในเชิงเปรียบเทียบตลอดจนเพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากแผนที่ภูมิทัศน์ เชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางในการศึกษาขั้นก้าวหน้าในลักษณะต่าง ๆ ต่อไปการสร้างแผนที่ภูมิทัศน์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Landscape Mapping) เป็นกระบวนการ แปลงข้อมูลการบันทึกที่บรรยายเกี่ยวกับพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในอดีต ให้เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปของแผนที่ โดยอ้างอิงข้อมูลหรือเอกสารสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับพื้นที่ที่ศึกษา เช่น แผนที่ประกอบรายงานการสำรวจในอดีต แผนที่ภูมิประเทศในอดีตของกรมแผนที่ทหาร ปีพ.ศ.2480-81 และ2495-96 และแผนที่ภูมิ ประเทศปัจจุบัน โดยแผนที่ภูมิทัศน์เชิงประวัติศาสตร์ที่ได้นี้ ใช้เป็นเครื่องมือประกอบการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ด้วยกระบวนการเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการทำความเข้าใจภูมิทัศน์กระบวนการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากแผนที่ของช่วงเวลาที่แตกต่างบริเวณพื้นที่ศึกษาตัวอย่างจำนวน 5 พื้นที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของพื้นที่อย่างชัดเจน โดยประเด็นในการศึกษาจำแนกตามมิติที่แสดงถึงคุณลักษณะของภูมิทัศน์ด้านต่าง ๆ ได้แก่ (1) ด้านกายภาพ (2) ด้านสังคม (3) ด้านเศรษฐกิจและ(4) ด้านวัฒนธรรมการสร้างแผนที่ภูมิทัศน์เชิงประวัติศาสตร์ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพภูมิทัศน์ในอดีต โดยการใช้ข้อมูลเชิประวัติศาสตร์และเชิงพื้นที่นอกจากนี้กระบวนการเปรียบเทียบข้อมูลแผนที่และบันทึกต่าง ๆ ประกอบการเก็บข้อมูลของพื้นที่จริงในปัจจุบันยังสามารถสะท้อนให้เห็นลักษณะของพื้นที่ในมิติต่าง ๆรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบต่าง ๆ ในพื้นที่ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถามเพื่อการพัฒนาสู่การศึกษาขั้นก้าวหน้าต่อไป