Abstract:
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของแนวดนตรีฮิพฮอพและการ แพร่กระจายของวัฒนธรรมฮิพฮอพในประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องนวัตกรรมและการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม แนวคิดวัฒนธรรมย่อยวัยรุ่น แนวคิดดนตรีในยุคหลังสมัยใหม่ และ แนวคิดภาษาในบทเพลง รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จากการสัมภาษณ์เจาะลึกศิลปินเพลงฮิพฮอพฃองไทย วิเคราะห์เอกสารและผลงานเพลงตลอดจนการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของแนวดนตรีฮิพฮอพในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ช่วงคือ 1) ช่วงการแร็พ เป็นลีลาใหม่ในเพลงไทยสมัยนิยม (พ.ศ.2528-2534) สังคมไทยเริ่มจากการรับเอาการร้องแร็พมาใช้เพื่อสร้างความแปลก ใหม่ในวงการเพลง 2) ช่วงดนตรีแร็พปรากฏขึ้นในวงการเพลงไทยสมัยนิยม (พ.ศ.2535 - 2544) ศิลปิน TKO เป็นศิลปิน แร็พ กลุ่มแรกของไทย และต่อมาผลงานของศิลปินโจอี้ บอย ทำให้ดนตรีแร็พเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้นแต่เป็นเพียง กลุ่มวัยรุ่นในสังคมเมือง 3) ช่วงปรากฏการณ์เพลงฮิพฮอพใต้ดิน (พ.ศ.2543-2545) โดยผลงานเพลงใต้ดินของศิลปินดาจิมโดนข้อหาผลิตและจัดจำหน่ายเพลงที่มีคำลามกอนาจารในปีเดียวกันการจัดงาน Thai-Hop Gancore club ทำให้ วัยรุ่นที่ชื่นชอบวัฒนธรรมฮิพฮอพมารวมตัวกันที่สยาม สแควร์ซึ่งนำไปสู่กระแสความตื่นตัวในวัฒนธรรมฮิพฮอพ 4) ช่วง “ดนตรีฮิพฮอพ’’ความนิยมหนึ่งในเพลงไทยสมัยนิยม (พ.ศ.2544-2549) ค่ายเพลงใหญ่เริ่มผลิตผลงานดนตรีฮิพฮอพเป็น จำนวนมากโดย กลุ่มศิลปินฮิพฮอพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดปัจจุบัน ได้แก่ ศิลปินกลุ่มก้านคอคลับ 1 ศิลปินดาจิมและกลุ่มศิลปิน Thaitanium การแพร่กระจายของวัฒนธรรมฮิพฮอพครั้งแรกในไทยอาจกล่าวได้ว่าเริ่มจากกลุ่มวัยรุ่นระตับชนชั้นกลางที่เล่น กีฬาสเก็ตบอร์ดในกรุงเทพฯเป็นผู้รับวัฒนธรรมฮิพฮอพเข้ามาในช่วงแรกเพื่อการสร้างตัวตนที่นำสมัยและได้แพร่หลาย เฉพาะในเขตเมืองผ่านดนตรีแร็พจากค่ายเพลงเล็กเมื่อบริบทเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่แพร่หลายมากขึ้นส่งผลให้ผลงานเพลงฮิพฮอพใต้ดินกระตุ้นความสนใจให้กลุ่มผู้ฟังเพลงวัยรุ่นแบบปากต่อปากและแพร่กระจายในวงกว้างขึ้นโดยมีสื่ออินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อการรวมกลุ่มของวัยรุ่นที่ชื่นชอบวัฒนธรรมฮิพฮอพให้ปรากฏชัดเจนขึ้นในสังคมไทยเมื่อค่ายเพลงใหญ่ให้ความสนใจในผลิตดนตรีฮิพฮอพส่งผลให้วัฒนธรรมฮิพฮอพกลายเป็นสินค้าที่ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน