Abstract:
การศึกษาวิจัยเรื่อง วิเคราะห์กระบวนการผลิต เนื้อหาและรูปแบบรายการ “เก็บตก” สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 มีวัตถุประสงค์ เนื้อศึกษากระบวนการผลิต รูปแบบและเนื้อหารายการ “เก็บตก ช่วงระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2542 - วันที่ 31 มกราคม 2543 วิธีการศึกษา ใช้การวิจัยเชิงพรรณนาโดยทำการสัมภาษณ์ทีมงานผู้ควบคุมดูแลรายการ “เก็บตก” ทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการผลิต มีความสำคัญอยู่ที่ การคัดเลือกภาพข่าว เนื้อหานำมาเสนอเป็นข่าว “เก็บตก” สำหรับรูปแบบและเนื้อหานั้น พบว่า รายการ “เก็บตก แบ่งเป็นข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และข่าวภูมิภาค ซึ่งทั้งหมดแบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ ข่าวสังคม ข่าวบุคคลทางการเมือง ข่าวกีฬา ข่าวอาชญากรรม และข่าวเศรษฐกิจโดย 1.ข่าวในประเทศมีข่าวบุคคลทางการเมืองที่ถูกนำมาเสนอเป็น “เก็บตก” มากที่สุด ซึ่งการนำเสนอเป็นการล้อเลียนบุคคลสำคัญทางการเมือง โดยวิธีการล้อเลียนมักจะเป็นแบบ Satire คือ การล้อเลียนเชิงเสียดสี และมีการใช้ทั้งภาพและเสียงเป็นเครื่องช่วยในการทำเทคนิคพิเศษ เนื้อหาให้ภาพปรากดูออกมาแล้วชวนขำขัน เนื่องจากบุคคลสำคัญทางการเมืองต่างอยู่ในความสนใจของประชาชนรวมทั้งมีความสำคัญ กับการบริหารประเทศ จึงดูเป็นจุดเด่นที่ถูกนำมาล้อเลียนมากที่สุด 2.ข่าวต่างประเทศ มีข่าวสังคมที่คูกนำมาเสนอเป็น “เก็บตก” มากที่สุด ซึ่งการนำเสนอจะเสนอข่าวที่เป็นความแตกต่างทางประเพณีและวัฒนธรรมระหว่างชาวไทยกับชาวต่างชาติ ลักษณะสังคมความเป็นอยู่ของต่างประเทศรวมทั้งพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของชาวต่างประเทศ โดยวิธีการล้อเลียนมักเป็นแบบ Ironic คือ การล้อเลียนที่ทำให้คนดูหัวเราะหึ หึ อยู่ในคอ หรือยิ้มน้อย ๆ มีการใช้ภาพเป็นส่วนสำคัญในการทำเทคนิคพิเศษสื่อเนื้อหาให้คนติดตามชม 3. ข่าวภูมิภาค มีข่าวสังคม ข่าวกีฬาและข่าวบุคคลทางการเมืองอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกันในการถูกนำเสนอเป็นข่าว “เก็บตก” ซึ่งวิธีการนำเสนอจะเอาประเพณีห้องถิ่นที่แตกต่างจากประเพณีในเมืองหลวงมาทำเป็นข่าว โดยวิธีการล้อเลียนในข่าวสังคมและข่าวกีฬามักจะเป็นแบบ Ironic ส่วนข่าวบุคคลทางการเมืองมักจะล้อเลียนโดยวิธี Satire หรือ Cariculture ซึ่งเป็นการล้อเลียนแบบเสียดสีที่มุ่งเน้นล้อสรีระของบุคคลต่าง ๆ งานวิจัยเสนอแนะให้มีการศึกษาการตอบรับของผู้รับสาร การวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยของรายการ “เก็บตกการวิเคราะห์เปรียบเทียบเชิงเนื้อหาและรูปแบบของรายการ “เก็บตก กับรายการอื่นที่มีลักษณะ1ใกล้เคียงกัน การวิเคราะห์แนวโน้มรูปแบบรายการ “เก็บตก ที่นี่จะนำเสนอทางวิทยุกระจายเสียง รวมทั้งศึกษาพัฒนาการของรายการ “เก็บตก และรายการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน