DSpace Repository

พัฒนาการฟ้อนบูชาพระธาตุพนม

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิชชุดา วุธาทิตย์
dc.contributor.author นฤบดินทร์ สาลีพันธ์
dc.date.accessioned 2020-09-10T07:44:49Z
dc.date.available 2020-09-10T07:44:49Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9745311596
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67863
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract ฟ้อนบูชาพระธาตุพนมมีกำเนิดเค้าโครงจากตำนานอุรังคนิทาน และปรากฏเป็นการฟ้อนในพิธีแห่กองบุญงานเดือนสาม ภายหลังได้ปรับเปลี่ยนเป็นการฟ้อนในรูปแบบเพื่อการบันเทิงในงานเทศกาล ซึ่งทำให้ฟ้อนบูชาพระธาตุพนมเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา ความสำคัญวิเคราะห์กระบวนท่าฟ้อน องค์ประกอบนาฎศิลป์ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์รูปแบบของฟ้อนอีสานในพิธีบูชาองค์พระธาตุพนม ที่ปรากฏในเทศกาลไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม ซึ่งมีชุดฟ้อนทั้งสิ้นจำนวน 7 ชุด คือ 1.ฟ้อนหางนกยูง 2.ฟ้อนภูไท 3.ฟ้อนไทญ้อ 4.ฟ้อนตำนานพระธาตุพนม 5.ฟ้อนศรีโคตรบูร 6.ฟ้อนอีสานบ้านเฮา 7.ฟ้อนขันหมากเบ็ง โดยศึกษาจากแถบบันทึกภาพ ภาพถ่าย การสัมภาษณ์บุคคล ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานเทศกาลไหลเรือไฟ พร้อมทั้งร่วมสังเกตการณ์และปฏิบัติการฟ้อนบูชา ผลการศึกษาผู้วิจัยพบว่าการเปลี่ยนแปลงฟ้อนบูชาพระธาตุพนม มีพัฒนาการโดยแบ่งตามประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ออกเป็น 4 เหตุผล ดังนี้ 1 จากตำนานอุรังคธาตุ 2 ฟ้อนในการแห่กองบุญเดือนสาม 3 ฟ้อนบูชาพระบรมสารีริกธาตุ 4 ฟ้อนบูชาพระธาตุพนมในงานเทศกาลไหลเรือไฟ ทั้งนี้พัฒนาการฟ้อนบูชาพระธาตุพนมในงานเทศกาลไหลเรือไฟ โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลาคือ ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2528 – 2529 เป็นกิจกรรมทดลองของยุวสมาคมนครพนม ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2530 – 2537 เป็นกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดนครพนมและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ช่วงที่ 3 พ.ศ. 2538 ปัจจุบัน เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญของงานเทศกาลไหลเรือไฟ นอกจากนั้นยังพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของท่าฟ้อน แต่มีการแข่งขันปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอและองค์ประกอบการฟ้อน ทำให้มีความตระการตาเพิ่มมากขึ้น จากความแตกต่างของชุดฟ้อนในพิธีบูชาพระธาตุพนมส่งผลให้เอกลักษณ์พระธาตุพนมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้ 1 ท่าฟ้อนที่เลียนแบบจากธรรมชาติ 2.ท่าฟ้อนที่มีการเกี้ยวพาราสี 3 ท่าฟ้อนที่มีการหยิบยืมจากท่าฟ้อนอื่น ๆ 4 ท่าฟ้อนที่มีการปรับปรุงจากท่าฟ้อนเดิม 5 ท่าฟ้อนที่มีการตีบทตามบทประพันธ์ 6 ท่าฟ้อนที่เป็นการบูชาสิ่งศักดิ์ นาฎศิลป์เป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีการสืบสานจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้วิจัยสันนิฐานว่ารูปแบบการนำเสนอการฟ้อนบูชาพระธาตุพนมน่าจะมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยเพื่อให้เป็นที่นิยมของผู้ชมหรือผู้ร่วมงานไม่ว่าจะเป็น องค์ประกอบการฟ้อน ซึ่งอาจมีการเพิ่มจำนวนชุดฟ้อนมากขึ้นจากปัจจุบัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ดับดุลพินิจของคณะกรรมการที่จัดงานในแต่ละปี งานวิจัยฉบับนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานในการบันทึกประวัติศาสตร์การฟ้อนบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่พัฒนามาเป็นการฟ้อนเพื่อการท่องเที่ยว ตลอดจนสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอีสานตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม อันเป็นแนวทางในการศึกษาพัฒนาฟ้อนอีสาน ต่อไปในอนาคต
dc.description.abstractalternative Worship Dance at Prathaphanom originated from the legend of Urangkahitan story and first appeared in a making – merit ceremony in February Later, there was a process of changes and development in dances which were gradually based on fun and entertainment. The objective of this research is to study the origin of the dance, its importance, to analyse its procedures and its artistic elements worship Dance at Praphatphanom. The worship dance annually held on the occasion of Lai-Rur-Fai festival mainly consists of 7 dances: Hang-nok-yung (Peacock) Dance, Pu-Thai Dance, Thai-yor Dance, Tham-nan-pa-that-pha-nom Dance, I-sam-ban-hao Dance, Kun-mark-beang Dance. The research data was collected from tape recording, photography, interviews, and observation. Regarding to this research we can summarize the development of Prathaphanom Worship Dance into 4 elements: the legend of Urangkathatr, The making-merit parade dance in February, Sairikhathat worship dance and Phathaphanom worship dance in Lai-Fai festival. However, the development of the last dance is divided into 3 periods: 1) 2528 B.E. – 2529 B.E. (this trial festival organized by Nakornphanom Youth Foundation 2) 2530 B.E. – 2537 B.E. (this festival supported by the province and Thailand Tourism Office 3) 2538 B.E. up to now (the festival becomes the traditional festival of the province. This brought a big change as there were a lot of new acts and procedures which always consist of 6 factors: the nature imitation, going on the pull, borrowing from other dances, adaptation of old acts, the interpretation of the composition into acts and acts expressing the worship. The researcher believes that the development of this artistic reservation depends on the age and popularity. This research would be one of the database on worship dance and reflection of Isam cultural and traditional change.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject พระธาตุพนม en_US
dc.subject การบูชา en_US
dc.subject การรำ --ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en_US
dc.subject พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม --ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en_US
dc.subject Worship en_US
dc.subject Dance -- Thailand, Northeastern en_US
dc.subject Rites and ceremonies -- Thailand, Northeastern en_US
dc.title พัฒนาการฟ้อนบูชาพระธาตุพนม en_US
dc.title.alternative Development of worship dance at Prathatphanom en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นาฏยศิลป์ไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Vijjuta.V@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record