Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสาร ปัญหาและอุปสรรค รวมไปถึงปัจจัยที่สนับสนุนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาความรู้ด้าน “การแพทย์ทางเลือก” ของมูลนิธิสุขภาพไทย โดยใช้ระเบีบบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกการสังเกต (ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม) และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1.กระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาความรู้ด้าน “การแพทย์ทางเลือก” แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1) การสื่อสารภายในองค์กร มีลักษณะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลแบบไม่เป็นทางการ (ทางเดียวและสองทาง) และ 2) การสื่อสารภายนอกองค์กร โดยมีการติดต่อสื่อสารกับ 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มองค์กรพันธมิตร เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล (แบบสองทาง ตามแนวนอน) และ กลุ่มของสมาชิกและประชาชนผู้สนใจ ไว้การสื่อสารทุกช่องทาง 2.ปัญหาและอุปสรรคต่อการสื่อสารและเพื่อการพัฒนาความรู้ด้าน “การแพทย์ทางเลือก” ได้แก่ 1)การขาดการวางแผนการสื่อสารและการจัดการทางด้านการสื่อสาร 2) ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับแนว ด้านการแพทย์ทางเลือก 3.ปัจจัยที่สนับสนุนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาความรู้ด้าน “การแพทย์ทางเลือก” นั้น มีทั้งที่เป็นปัจจัย ภายในและภายนอก โดยปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) อุดมการณ์และจิตสำนึกสาธารณะ 2) ความน่าเชื่อขององค์กร 3) การใช้ช่องทางการสื่อสาร ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) บริบททางสังคม 2)ความต้องการในข้อมูลข่าวสาร 3)ความร่วมมือจากองค์กรภาคต่าง ๆ