Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหลักการแนวคิดตลอดจนกระบวนการในทางปฏิบัติ ซึ่ง IMF ใช้ในการควบคุมดูแลรัฐศาสตร์สมาชิกให้ปฏิบัติตามพันธกรณีตามข้อตกลง IMF ทั้งในสถานการณ์ทั่วไปและกรณีรัฐศาสตร์สมาชิกขอรับความช่วยเหลือหรือขอใช้ทรัพยากรของ IMF โดยใช้กลไกการกำกับดูแลเป็นสำคัญทั้งนี้ได้ดำเนินการวิจัยทั้งทางเอกชนและสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย จากการศึกษาพบว่า IMF เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไข ปัญหาและจัดระเบียบทางการเงินระหว่างประเทศ โดยอาศัยกระบวนการชักชวนประเทศต่าง ๆ หันมาร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขของผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย ทำให้บทบัญญัติทางกฎหมายตลอดจนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของ IMF มีความยืดหยุ่นไม่เข้มงวด และไม่นิยมใช้แนวทางมาตรการที่เด็ดขาดรุนแรง มิฉะนั้นรัฐศาสตร์สมาชิกอาจจะไม่ยอมตนเข้าเป็นสมาชิก และไม่ปฏิบัติตามพันธกรณี ตามข้อตกลง IMF ทำให้ประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างอิสระ ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเงื่อนไขใด ๆ และไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเสถียรและภาพทางการเงินของสังคมโลก ดังนั้น IMF จึงใช้หลักการกำกับดูแลเพื่อให้สมาชิกปฏิบัติตามพันธกรณี โดยอาศัยวิธีการปรึกษาหารือ การตรวจตราติดตามตลอดจนการเจรจาต่อรอง ซึ่งมีลักษณะยืดหยุ่น ไม่เข้มงวด แม้ IMF จะมีอำนาจลงโทษตามกฎหมายภายใต้ข้อตกลง IMF เช่น การขับไล่ออกจากสมาชิกภาพ หากรัฐสมาชิกฝ่าฝืนหรือละเมิดข้อตกลง แม้กระทั่งเมื่อรัฐสภาสมาชิกขอใช้ทรัพยากรของ IMF อันจะเห็นได้ชัดเจนในกรณีของประเทศไทย ที่ IMF ใช้กระบวนการในทางปฏิบัติที่ไม่เข้มงวด ยึดหลักการปรึกษาหารือ สามารถเจรจาต่อรองเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งความจำนงในหลายฉบับตั้งแต่ ฉบับที่ 3 เป็นต้นมา และในหลายประเด็น ได้แก่ เรื่องงบประมาณ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปกฎหมาย เป็นต้น อันเป็นหลักฐานยืนยันว่าเงื่อนไขต่าง ๆ นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ อันจะนำไปสู่ข้อสรุปว่า วิธีการกำกับดูแลเป็นรูปแบบใหม่ของกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้านการเงินซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากพันธะกรณีในเรื่องอื่น สำหรับข้อเสนอแนะที่น่าสนใจในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งควรสนับสนุนให้ใช้วิธีการ ภายใต้หลักการกำกับดูแลให้กว้างขวางยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยควรใช้กลไกทางกฎหมายที่ IMF ให้สิทธิแก่รัฐสมาชิกอยู่แล้ว ในการเจรจาต่อรองเพิ่มเติมจากกลไกทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักอยู่แล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มความเข้มแข็งในการต่อรองเงื่อนไขให้มากขึ้น รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ จำเป็นต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบและคำนึงถึงผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อมิให้เป็นภาระของลูกหลานต่อไปเป็นสำคัญ