Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67922
Title: | การกำกับดูแลและกระบวนการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีวิกฤตการณ์เศรษฐกิจไทย |
Other Titles: | Supervision and process of International Monetary Fund : a case study of Thailand economic crisis |
Authors: | วรวิทย์ เตชะสุภากูร |
Advisors: | ศักดา ธนิตกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sakda.T@Chula.ac.th |
Subjects: | กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจ -- ไทย ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ International Monetary Fund Thailand -- Economic conditions Economic policy |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหลักการแนวคิดตลอดจนกระบวนการในทางปฏิบัติ ซึ่ง IMF ใช้ในการควบคุมดูแลรัฐศาสตร์สมาชิกให้ปฏิบัติตามพันธกรณีตามข้อตกลง IMF ทั้งในสถานการณ์ทั่วไปและกรณีรัฐศาสตร์สมาชิกขอรับความช่วยเหลือหรือขอใช้ทรัพยากรของ IMF โดยใช้กลไกการกำกับดูแลเป็นสำคัญทั้งนี้ได้ดำเนินการวิจัยทั้งทางเอกชนและสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย จากการศึกษาพบว่า IMF เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไข ปัญหาและจัดระเบียบทางการเงินระหว่างประเทศ โดยอาศัยกระบวนการชักชวนประเทศต่าง ๆ หันมาร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขของผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย ทำให้บทบัญญัติทางกฎหมายตลอดจนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของ IMF มีความยืดหยุ่นไม่เข้มงวด และไม่นิยมใช้แนวทางมาตรการที่เด็ดขาดรุนแรง มิฉะนั้นรัฐศาสตร์สมาชิกอาจจะไม่ยอมตนเข้าเป็นสมาชิก และไม่ปฏิบัติตามพันธกรณี ตามข้อตกลง IMF ทำให้ประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างอิสระ ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบเงื่อนไขใด ๆ และไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเสถียรและภาพทางการเงินของสังคมโลก ดังนั้น IMF จึงใช้หลักการกำกับดูแลเพื่อให้สมาชิกปฏิบัติตามพันธกรณี โดยอาศัยวิธีการปรึกษาหารือ การตรวจตราติดตามตลอดจนการเจรจาต่อรอง ซึ่งมีลักษณะยืดหยุ่น ไม่เข้มงวด แม้ IMF จะมีอำนาจลงโทษตามกฎหมายภายใต้ข้อตกลง IMF เช่น การขับไล่ออกจากสมาชิกภาพ หากรัฐสมาชิกฝ่าฝืนหรือละเมิดข้อตกลง แม้กระทั่งเมื่อรัฐสภาสมาชิกขอใช้ทรัพยากรของ IMF อันจะเห็นได้ชัดเจนในกรณีของประเทศไทย ที่ IMF ใช้กระบวนการในทางปฏิบัติที่ไม่เข้มงวด ยึดหลักการปรึกษาหารือ สามารถเจรจาต่อรองเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งความจำนงในหลายฉบับตั้งแต่ ฉบับที่ 3 เป็นต้นมา และในหลายประเด็น ได้แก่ เรื่องงบประมาณ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปกฎหมาย เป็นต้น อันเป็นหลักฐานยืนยันว่าเงื่อนไขต่าง ๆ นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ อันจะนำไปสู่ข้อสรุปว่า วิธีการกำกับดูแลเป็นรูปแบบใหม่ของกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้านการเงินซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากพันธะกรณีในเรื่องอื่น สำหรับข้อเสนอแนะที่น่าสนใจในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งควรสนับสนุนให้ใช้วิธีการ ภายใต้หลักการกำกับดูแลให้กว้างขวางยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยควรใช้กลไกทางกฎหมายที่ IMF ให้สิทธิแก่รัฐสมาชิกอยู่แล้ว ในการเจรจาต่อรองเพิ่มเติมจากกลไกทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักอยู่แล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มความเข้มแข็งในการต่อรองเงื่อนไขให้มากขึ้น รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ จำเป็นต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบและคำนึงถึงผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อมิให้เป็นภาระของลูกหลานต่อไปเป็นสำคัญ |
Other Abstract: | This thesis aims to study principles, concept, and practices adopted by IMF as means to monitor state Party in fulfilling its obligations under Articles of Agreement both in general situation and in case of use IMF monetary resources. Documentary research and interviewing selected resourceful persons in the field are methodologies that use for satisfying the objective(s) set. The result of this study showed that IMF tend to use cooperative method of work which proved more beneficial individually and mutually to member of the Fund rather than non-flexible one. This reflect on the flexibility, non-rigidity, and of for fear that state party will not get out from the Fund. Even though the fact that the Article allow the Fund to use compulsory withdrawal the state failed to comply with the Agreement. The measures adopted are consultation, surveillance, and negotiation which witnessed the flexibility and non-rigidity. The individual fact to testify this claim is the case of Thailand. IMF adopt soft measures in dealing with terms and conditions. The fact explicitly showed that, since the third Letter of Intent submitted to the Fund, terms and conditions entailed upon the approval of the use of IMF resources. This indicate the unique nature of international monetary law which mainly practice under IMF. The recommendations of this study should be made in two levels. The first one, international level, consultation, surveillance, and negotiation should be more popularly encourage as crucial mean of international economic stabilization among state parties of IMF. The second one, at national level especially for Thailand, it should pay more attention to legal basis rather than only economic matter which will allow maximum benefit เท economic policy management. Also, have to take more serious and into the consideration both short run and long-run impacts to national economy in the way that avoid to make heavier burden to the next generation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67922 |
ISBN: | 9743349847 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Worawit_te_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 904.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Worawit_te_ch0_p.pdf | บทนำ | 817.68 kB | Adobe PDF | View/Open |
Worawit_te_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Worawit_te_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Worawit_te_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Worawit_te_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Worawit_te_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Worawit_te_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 816.34 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.