DSpace Repository

เรือมอันเร

Show simple item record

dc.contributor.advisor สวภา เวชสุรักษ์
dc.contributor.author พนิดา บุญทองขาว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-09-21T08:43:15Z
dc.date.available 2020-09-21T08:43:15Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.issn 9741301219
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68068
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เพื่อศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการเรือมอันเรหรือการรำกระทบสากของชาวไทยเชื้อสายเขมร รวมถึงวิเคราะห์รูปแบบการแสดงเรือมอันเรแบบฉบับดั้งเดิม และรูปแบบปัจจุบันในจังหวัดสุรินทร์ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรือมอันเร การสังเกตจากการแสดง จากภาพถ่าย จากวีดีทัศน์ ตลอดจนการฝึกหัดของผู้วิจัยกับผู้เชี่ยวชาญการรำเรือมอันเร จังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัยพบว่า เรือมอันเรมี 2 รูปแบบ คือ เรือมอันเรแบบดั้งเดิม และรูปแบบที่แสดงในปัจจุบันเรือมอันเรแบบดั้งเดิมเป็นการแสดงของชาวบ้านในเทศกาลสงกรานต์ เพื่อสร้างความสนุกสนานเปิดโอกาสให้หญิงชายพบปะกัน แบบปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นลำดับ จนกลายเป็นการแสดงด้วยศิลปินอาชีพที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ มีดนตรีประกอบ และมีการแต่งกายที่สวยงามกว่าแบบดั้งเดิม เรือมอันเรทั้ง 2 รูปแบบ แบ่งการแสดงได้เป็น 3 ลำดับเหมือนกัน คือ การรำรอบสาก การรำเข้าสากและการรำตลกพลิกแพลง ลักษณะของการรำเป็นแบบเฉพาะ ซึ่งพบได้ว่ามีจุดเด่น ดังนี้ เรือมอันเรแบบดั้งเดิมของชาวบ้าน มีการใช้ศีรษะ ลำตัว มือ เท้า และท่าทางในลักษณะต่าง ๆ โดยผู้รำไม่เน้นการใช้จังหวะเข่า หรือทิ้งนํ้าหนักตัวขณะเคลื่อนไหว เน้นกิริยาแบบธรรมชาติ หากแต่ในการทรงตัวเน้นการโน้มลำตัวไปด้านหน้า และเบี่ยงลำตัวออกด้านข้างขณะเคลื่อนไหว ส่วนเรือมอันเรที่แสดงในปัจจุบัน เน้นการย่อตัว การทิ้งนํ้าหนักตัวลงบนเท้าที่ก้าวพร้อมกับการถ่ายนํ้าหนักตัวจากเท้าหนึ่งไปยังเท้าอีกด้านหนึ่ง เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่เปลี่ยนทิศทาง และสำหรับการรำตลกพลิกแพลงนับเป็นกระบวนท่ารำเฉพาะของเรือมอันเรที่ไม่พบ ในการแสดงประเภทเดียวกันเพราะเป็นการแสดงท่าผาดโผนเสี่ยงอันตราย โดยนำลีลาการฟ้อนรำ คือ การจีบ การตั้งวง การเอียง การบิดลำตัวเข้ามาผสมผสานด้วย เรือมอันเรแบบดั้งเดิมแสดงบนลานในหมู่บ้าน แบบปัจจุบันแสดงบนเวที การแต่งกายคงรูปแบบเครื่องแต่งกายพื้นเมือง แต่แบบปัจจุบันตกแต่งให้ดูวิจิตรกว่าแบบดั้งเดิม สากตำข้าวเป็นอุปกรณ์สำคัญเพียงอย่างเดียว เพื่อให้จังหวะและทำให้เกิดความตื่นเต้นเพื่อให้ผู้แสดงรำเข้าสาก วงเรือมอันเรเป็นวงดนตรีประกอบการแสดงมีเครื่องดนตรี คือ กลองกันตรึม ปี่สะไล ซอกลาง ฉิ่ง ฉาบ กรับ เพลงมี 5 เพลง คือ เพลงคเมาแม เพลงกัจปะกา เพลงจีงมุย เพลงมลบโดง และเพลงจีงปีร์ เรือมอันเรเป็นนาฏศิลป์พื้นบ้านของไทยเชื้อสายเขมรที่มีลักษณะเด่น และยังมีการปรับปรุงอย่างไม่หยุดยั้งการศึกษาของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้น่าจะเป็นแนวทางให้เห็นข้อดี และข้อเสียของการพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านมาเป็นการแสดงสำหรับประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการละเล่นพื้นบ้านของชาวไทยเชื้อสายเขมรอีกหลายชุดที่ควรศึกษาค้นคว้าต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aims at studying the historical background and development of Ruam An Ray,or Rum Kratob Saak of the Thai-Khmer people. It also analyzes the styles of Ruam An Ray performance, both the traditional 1 original style and the presentday one as performed in Surin province. The study is based on related documents, interviews with those concerned with Ruam An Ray, and observations of performance, photographs and video along with the training the author has received from the Ruam An Ray master in Surin province. The study finds that there are two styles of Ruam An Ray: the original Ruam An Ray, and the present-day Ruam An Ray. The original one was the performance of the villagers during the Songkran festival in order to provide entertainment and create opportunity for men and women to meet. The present-day Ruam An Ray has undergone developments and is now a performance by specialized professional artists, accompanied with music and beautiful costumes different from the original version. The performance of both types of Ruam An Ray can be divided into 3 similar steps: rum rob sak, rum kao sak, and comedy dance. Outstanding characteristics of the dance are that in the traditional Ruam An Ray, the head, body, hands, feet and other gestures are done without emphasis on shifting one’s weight from one knee to another as he moves. Rather, the gestures are natural with the body leaning forward and side wards as a person moves. As for the present-day Ruam An Ray, emphasis is on bending one’s knee, putting one's weight on the foot forward and shifting one’s weight from one foot to another so as to aid movement and change of direction. The comedy dance, on the other hand, is unique to Ruam An Ray dance and has not been found in any other dance of the same type. Dare-devilish and acrobatic movements are combined with traditional dance poses such as jeeb, tang wong, and the leaning and twisting of the body. The traditional Ruam An Ray is performed on a village ground while the present-day Ruam An Ray is performed on a stage. The costume is similar to the local costume but the present-day Ruam An Ray’s costume is more elaborate. The rice pestle is the only equipment needed for the dance and is used to provide rhythm for the performers and induce excitement. The Ruam An Ray band consists of several musical instruments which are the drum,woodwind, fiddle, cymbal, and castanets. The music consists of 5 tunes namely Kamamare, Katpaka, Juengmui, Mulobkong and Jongpee. Ruam An Ray is a traditional local dance of the Thai of Khmer descent. It is a unique dance which has undergone constant developments. The study might provide some guidelines for consideration of the advantages and disadvantages of the development of a traditional local dance to be a performing art for the general public. Apart from Ruam An Ray, there are many other local dances of the Thai of Khmer descent which also deserve to be studied further. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การรำ -- ไทย -- สุรินทร์ en_US
dc.subject กัมพูชา -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี en_US
dc.subject Dance -- Thailand -- Surin en_US
dc.subject Cambodia -- Thailand -- Social life and customs en_US
dc.title เรือมอันเร en_US
dc.title.alternative Ruam an Ray en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นาฏยศิลป์ไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Savapar.V@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record