Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถทางความคิดเชื่อมโยง และความสามารถทางความคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีภูมิหลังและสถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ต่างกัน โดยพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีภูมิหลังต่างกัน กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนสาธิตจุฬาฯ ระดับชั้นป.5 จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับภูมิหลัง แบบสอบวัดช่วงความจำตัวเลข และแบบสอบถามแสตรดาร์ดโปรเกรสซีพเมตริซิส การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณค่าร้อยละของข้อมูลสถานภาพของนักเรียน คำนวณค่ามัชฌิมเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความสามารถทางความคิดทั้ง 2 ด้าน โดยจำแนกนักเรียนตามภูมิหลัง ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโดยการทดสอบด้วย t-test และ F-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนความสามารถทางความคิดเชิงเชื่อมโยง และความสามารถทางความคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 สาธิตจุฬาฯ อยู่ในระดับดี 2. นักเรียนสาธิตจุฬาฯ ที่มีภูมิหลังต่างกัน มีคะแนนความสามารถทางความคิดทั้ง 2 ด้านไม่แตกต่างกัน 3. นักเรียนสาธิตจุฬาฯ ที่มีผลสัมฤทธิ์ททางการเรียนต่างกัน จะมีคะแนนความสามารถทางความคิดเชื่อมโยง และเชิงมโนทัศน์แตกต่างกัน 4. กลุ่มนักเรียนสาธิตจุฬาฯ ที่เป็นบุตรบุคลากรจุฬาฯ มีคะแนนความสามารถทางความคิดเชิงเชื่อมโยง และความสามารถทางความคิดเชิงมโนทัศน์ โดยเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มนักเรียนที่เป็นบุตรบุคคลภายนอก และกลุ่มนักเรียนที่เป็นบุตรอาจารย์จุฬาฯ 5. นักเรียน ป.5 สาธิตจุฬาฯ มีคะแนนความสามารถทางความคิดเชื่อมโยง และความสามารถทางด้านเความคิดเชิงมโนทัศน์ โดยเฉลียสูงกว่ากลุ่มนักเรียนในกรุงเทพมหานคร